หมายเหตุประกอบงบการเงินประจำไตรมาส 3

วันที่ 25มิถุนายน 2542 เพื่อยกเลิกการขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ Western Metals Limited ตลอดจน ภาระผูกพันทางการค้าอื่น บริษัทอยู่ในระหว่างการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ลงทุนรายใหม่ต่อไป เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2542 บริษัทได้ทำสัญญาแต่งตั้งสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง เป็นที่ปรึกษา ทางการเงินในการหาผู้ลงทุนให้แก่บริษัท ตามสัญญาดังกล่าวบริษัทจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการ ให้คำปรึกษาตามที่กำหนดในสัญญา 12. การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับตราสารทางการเงิน ตามหนังสือที่ได้รับจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2541 บริษัทจะต้อง ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีสากล (IAS) ฉบับที่ 32 เรื่องการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับ ตราสารทางการเงิน ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ตราสารทางการเงินทั้งในงบดุล และนอกงบดุล 12.1 รายการสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ รายการสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทและบริษัทย่อยที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 : เงื่อนไขการรับ/ งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท จ่ายชำระ จำนวนเงิน จำนวนเงิน วัน ดอลลาร์สหรัฐ บาท ดอลลาร์สหรัฐ บาท เงินฝากธนาคาร - 761,797 31,172,996 756,407 30,952,420 ลูกหนี้การค้าต่างประเทศ 15 1,556,266 63,682,862 1,556,266 63,682,862 ทรัสต์รีซีท 90-150 12,589,855 517,869,831 12,589,855 517,869,831 เจ้าหนี้การค้า 30-60 2,527,930 103,983,602 2,527,930 103,983,602 ดอกเบี้ยค้างจ่าย 90 916,500 37,699,224 170,072 6,995,711 เงินกู้ยืมระยะยาว 40,115,000 1,650,086,399 40,115,000 1,650,086,399 เงินกู้ยืมระยะสั้นและ เงินทดรองจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน 2,859,097 117,605,801 - - ...…/14 - 14 - ณ วันที่ 30 กันยายน 2541: เงื่อนไขการรับ/ งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท จ่ายชำระ จำนวนเงิน จำนวนเงิน วัน ดอลลาร์สหรัฐ บาท ดอลลาร์สหรัฐ บาท เงินฝากธนาคาร - 2,114,685 82,667,503 2,109,451 82,462,885 ลูกหนี้การค้าต่างประเทศ 30 1,566,953 61,255,483 1,566,953 61,255,483 เจ้าหนี้การค้า 30-60 6,915,091 273,364,446 6,761,239 266,891,105 เงินกู้ยืมจากธนาคาร 120-360 50,335,866 1,986,942,880 50,335,866 1,986,942,880 ดอกเบี้ยค้างจ่าย 180 635,102 25,069,859 91,728 3,620,863 เงินกู้ยืมระยะยาว 180 7,359,097 290,490,779 4,500,000 177,631,650 จำนวนเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศได้ถูกแปลงค่าเป็นเงินบาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 12.2 การบริหารความเสี่ยง นโยบายบริหารความเสี่ยงของบริษัทสำหรับเงินกู้ยืมที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ได้แก่ การซื้อ ตราสารทางการเงินในตลาดทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยง บริษัทมีการขายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงทำให้บริษัทมีราย ได้และลูกหนี้เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกันบริษัทมีเจ้าหนี้การค้า ภาระเงินกู้ และ ดอกเบี้ยที่เป็นสกุลเงินเดียวกัน ซึ่งบริษัทสามารถบริหารความเสี่ยงสำหรับอัตราแลกเปลี่ยนโดย ใช้วิธีการจับคู่ (Matching) รายได้ที่ได้มากับภาระเงินกู้และดอกเบี้ยที่เป็นเงินตราต่าง ประเทศ 12.3 ราคายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงิน ราคายุติธรรมของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด และรายการสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นตราสาร ทางการเงินที่ไม่มีดอกเบี้ยจะมีราคาเท่ากับราคาตามบัญชี ราคายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินอื่น แสดงในราคาตลาด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดแสดงโดยใช้ราคาตลาดที่สามารถอ้างอิงได้ โดยใช้วันที่เดียวกับ งบการเงิน สำหรับหลักทรัพย์ที่ไม่อยู่ในความต้องการตลาดแสดงในราคายุติธรรมสุทธิ ซึ่งประเมิน โดยผู้บริหารโดยพิจารณาจากสินทรัพย์สุทธิ ความสามารถในการทำกำไรในอนาคตและสภาพการณ์โดยเฉพาะ ในการลงทุนในบริษัทนั้น ...…/15 - 15 - 12.4 ความเสี่ยงในการให้สินเชื่อ ความเสี่ยงในการให้สินเชื่อได้แก่การที่คู่สัญญาผิดเงื่อนไขตามสัญญา ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลขาด ทุน แก่บริษัทได้ บริษัทมีนโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยการเรียกหลักประกันจากลูกค้าก่อนทำการขายสินค้า ซึ่ง หลักประกันอาจเป็นการค้ำประกันโดยธนาคาร หรือเงินสด ในด้านของการรับรู้ทรัพย์สินทางการเงิน มูลค่าของทรัพย์สินที่บันทึกในงบดุลรวมสุทธิจากค่า เผื่อหนี้สงสัยจะสูญ แสดงในมูลค่าที่มีความเสี่ยงสูงสุดในการให้สินเชื่อ 12.5 ความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในงบดุลเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจส่งผล ต่อกำไรของบริษัทในวันสิ้นงวดและปีต่อไป 13. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น 13.1 ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 และ 2541 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับอ สังหาริมทรัพย์ มีภาระผูกพันตามสัญญาร่วมดำเนินงานโครงการนิคมอุตสาหกรรมผาแดง ดังนี้ - ค่าดำเนินการให้ความสะดวกและบริการสนับสนุนต่อการดำเนินกิจการเป็นเงิน 567,252 บาท ต่อปี และเพิ่มขึ้นทุก ๆ 5 ปี ในอัตราร้อยละห้าของอัตราในช่วงระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา โดย เริ่ม ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2535 รวมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนต่อการใช้พื้นที่ที่ท่าเทียบเรือตามที่ กำหนดในสัญญา 13.2 ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 และ 2541 บริษัทและบริษัทย่อยมีภาระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น จากการให้ธนาคารค้ำประกันเป็นเงินประมาณ 96.34 ล้านบาท และ 114.11 ล้านบาท ตามลำดับ 13.3 ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 และ 2541 บริษัทมีเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ยังไม่ได้ใช้ เป็น จำนวนเงินประมาณ 34.93 ล้านบาท และ 194.08 ล้านบาท ตามลำดับ 13.4 ในเดือนธันวาคม 2538 บริษัทได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกรม สรรพากร เป็นเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคล เบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมทั้งหมดจำนวนประมาณ 31.72 ล้านบาท ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2539 บริษัทได้ยื่นอุทธรณ์ให้ยกเลิกการประเมินภาษีเงินได้นิติ บุคคล งดและลดเบี้ยปรับเงินเพิ่มดังกล่าว ...…/16 - 16 - ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 ผลการยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวยังไม่มีข้อยุติ 13.5 ภาระผูกพันทางด้านการซื้อ บริษัทมีภาระผูกพันในการทำสัญญาซื้อวัถุดิบและไม่ได้บันทึกเป็นหนี้สิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 ดังนี้ งบการเงินรวม งบการเงินตามวิธีส่วนได้เสีย บาท บาท ส่วนที่ไม่เกิน 1 ปี 110,842,164 110,842,164 ส่วนที่เกิน 1 ปีแต่ไม่เกิน 2 ปี - - ส่วนที่เกิน 2 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปี 30,547,946 30,547,946 141,390,110 141,390,110 สำหรับงบการเงินระหว่างกาลสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2541 บริษัทไม่สะดวกในการจัดหาข้อมูลที่ นำมาเปรียบเทียบ 14. ข้อผูกพันตามสัญญากับส่วนราชการ บริษัทมีข้อผูกพันบางประการตามสัญญาเกี่ยวกับการทำเหมืองและการก่อสร้างโรงถลุงแร่สังกะสีที่ทำ กับส่วนราชการ ซึ่งรวมถึงข้อกำหนดการจำหน่ายโลหะสังกะสีและโลหะสังกะสีผสมรวมทั้งการจ่ายผล ประโยชน์และเงินโบนัสพิเศษ 15. รายการระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกัน รายการระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกันที่ต้องเปิดเผยตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดทำและส่งงบการเงิน และรายการเกี่ยวกับฐานะการเงิน และผลการ ดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนมีดังต่อไปนี้ รายการและยอดคงเหลือที่สำคัญระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 30 กันยายน ประกอบด้วย งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท 2542 2541 2542 2541 บาท บาท บาท บาท ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้า (ดู* 1 ) - - 48,656,763 57,267,619 เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย 696,894 25,290 1,623,053 510,998 และบริษัทร่วม-หมุนเวียน - 161,714 - 161,714 696,894 187,004 1,623,053 672,712 ...…/17 - 17 - งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท 2542 2541 2542 2541 บาท บาท บาท บาท เงินกู้ยืมระยะสั้นและเงินทดรองจาก กิจการที่เกี่ยวข้องกัน-หมุนเวียน 117,707,513 134,717,823 - - เงินให้กู้ยืมและเงินทดรองแก่บริษัทย่อย แห่งหนึ่ง-ไม่หมุนเวียน (ดู* 5 ) - - 8,000,000 9,080,000 เงินกู้ยืมจากบริษัทย่อย แห่งหนึ่ง-ไม่หมุนเวียน (ดู* 2 ) - - 168,900,000 153,000,000 เงินลงทุน - 6,481,902 533,050,477 527,828,824 เจ้าหนี้การค้า (ดู* 4) - - 86,085,051 86,228,917 ดอกเบี้ยค้างจ่าย (ดู * 2) - - 1,639,911 8,020,069 สำหรับไตรมาสสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท 2542 2541 2542 2541 บาท บาท บาท บาท ค่าขาย (ดู* 3) - - 2,615,192 - ค่านายหน้าจ่าย (ดู* 4) - - - - ดอกเบี้ยรับ (ดู* 5) - - - 16,635,262 ดอกเบี้ยจ่าย (ดู* 2) - - 2,019,829 4,434,904 สำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท 2542 2541 2542 2541 บาท บาท บาท บาท ค่าขาย (ดู* 3) - - 3,492,348 7,866,866 ค่านายหน้าจ่าย (ดู* 4) - - - 40,950,897 ดอกเบี้ยรับ (ดู* 5) - - - 65,206,207 ดอกเบี้ยจ่าย (ดู* 2) - - 7,567,659 12,929,926 ...…/18 - 18 - * 1. ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 บริษัทมีลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้าของกิจการที่เกี่ยว ข้องกันที่มีปัญหาในการ ชำระหนี้จำนวน 46.81 ล้านบาท (ดูหมายเหตุข้อ 7 ) * 2. เป็นเงินกู้ยืมในรูปตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นตั๋วเมื่อทวงถาม และตั๋วมีกำหนด ระยะเวลา (อัตราดอกเบี้ยสำหรับปี 2542 ร้อยละ 4.50-4.75 ต่อปี และสำหรับปี 2541 ร้อยละ 11.50 ต่อปี ไม่มีหลักประกัน) *3. เป็นการขายสินค้าให้กับบริษัทย่อยตามราคาที่ตกลงกัน บริษัทไม่สามารถหาราคาตลาดมา เปรียบเทียบได้ * 4. เป็นค่านายหน้าจากการที่บริษัทย่อยหาลูกค้าให้บริษัท โดยตกลงจ่ายค่าตอบแทนเท่ากับ ร้อยละ 1.5 ของยอดจำหน่ายโลหะ สำหรับไตรมาสและงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2542 บริษัทไม่ได้ทำการต่อสัญญาค่านายหน้ากับบริษัทย่อยดังกล่าว บริษัทไม่มีข้อมูลของค่านายหน้า ที่จ่ายกันในท้องตลาด * 5. ณ วันที่ 1 กันยายน 2541 บริษัทได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเงินกู้กับบริษัทย่อย แห่งหนึ่ง เพื่อเปลี่ยนสกุลเงินกู้ยืมจากดอลลาร์สหรัฐจำนวน 14,614,412 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นเงิน บาท จำนวน 616,241,546 บาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามอัตราอ้างอิงของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2541 ในอัตราขาย 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 42.1667 บาท และสัญญาดังกล่าวได้ ระบุให้บริษัทหยุดคิดดอกเบี้ยของเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อยดังกล่าวข้างต้น ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 และ 2541 เงินให้กู้ยืมและเงินทดรองแก่บริษัทย่อยมียอดคงเหลือ ประมาณ1,266,099,170 บาท (เงินต้น 1,061,137,545 บาท ดอกเบี้ยและค่าปรับจากการผิดสัญญา 204,961,625 บาท ) และ 1,160,513,170 บาท (เงินต้น 955,551,545 บาท ดอกเบี้ยและค่าปรับจาก การผิดสัญญา 204,961,625 บาท) ตามลำดับ งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท 2542 2541 2542 2541 บาท บาท บาท บาท เงินให้กู้ยืมและเงินทดรองจ่าย - - 1,266,099,170 1,160,513,170 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (ขาดทุนสะสม เกินเงินลงทุนในบริษัทย่อย) - - (1,258,099,170) (1,151,433,170) เงินให้กู้ยืมและเงินทดรองจ่ายสุทธิ 8,000,000 9,080,000 ...…/19 - 19 - บริษัทได้รับรู้ส่วนได้เสียในผลขาดทุนของบริษัทย่อยที่มีผลขาดทุนเกินทุนทั้งจำนวน โดยหักจาก เงินลงทุน ลูกหนี้ และ เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย ในปี 2541 บริษัทได้ตั้งหนี้สินตามภาระผูกพันในการค้ำประกันเงินกู้ยืมให้กับบริษัท ผาแดง พุงซาน เมททัลส์ จำกัด (ดูหมายเหตุข้อ 17) 16. สัญญาร่วมดำเนินงาน บริษัทย่อยแห่งหนึ่งซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ได้ทำสัญญาร่วมดำเนินงานโครงการ นิคม อุตสาหกรรมผาแดงกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 7 กันยายน 2535 สัญญา ดังกล่าว กำหนดให้บริษัทย่อยดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาที่ดินของบริษัทย่อย เพื่อจัดตั้ง เป็นนิคม อุตสาหกรรมผาแดง และโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ในส่วนที่เป็นระบบสาธารณูปโภค ถนน และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมส่วนควบคุมและอุปกรณ์ให้แก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยไม่คิดค่าตอบแทนตลอดจนการยอมให้บริษัทย่อยโอนสิทธิการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่พัฒนา และ ท่าเทียบเรือ และหรืออาคารในที่ดินดังกล่าวให้แก่นิติบุคคลอื่นที่บริษัทย่อยหรือบริษัท ถือ หุ้นอย่างน้อย 30% ของทุนจดทะเบียน ในปี 2538 บริษัทย่อยได้ขายที่ดินบางส่วนในนิคมอุตสาหกรรมผาแดง ให้กับนิติบุคคลอื่นสองรายที่ ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น โดยมีผลขาดทุนจากการขายที่ดินจำนวนประมาณ 73.3 ล้าน บาท ดังนั้นบริษัทย่อยจึงมีหนังสือลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2538 ถึงการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย เพื่อขอแก้ไขสัญญาร่วมดำเนินงานดังกล่าวกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือลงวันที่ 6 ตุลาคม 2538 ถึงบริษัทย่อยแจ้งว่า คณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีมติเพื่อดำเนินการต่อไป คือการขอแก้ไขสัญญา ของบริษัทย่อยให้ดำเนินการได้ภายใต้หลักการกฎหมายในการแก้ไขสัญญาของรัฐ ทั้งนี้ให้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรียกค่าชดเชยความเสียหายเป็นจำนวน 30% ของกำไรจากการที่ บริษัทย่อยขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมผาแดงให้กับนิติบุคคลอื่น ...…/20 - 20 - เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2539 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือถึงบริษัทย่อยให้ บริษัทย่อยจ่ายค่าปรับจากการผิดสัญญาร่วมดำเนินงานโครงการนิคมอุตสาหกรรมผาแดงและสัญญา เรื่องการขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมผาแดง เป็นจำนวนเงิน 5,308,500 บาท โดยบริษัทย่อยได้จ่าย ชำระ ค่าปรับดังกล่าวแล้วในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 สำหรับค่าชดเชยความเสียหายจำนวน 30% ของกำไรจากการที่บริษัทย่อยขายที่ดินดังกล่าวนั้น ณ วัน ที่ 30 กันยายน 2542 ยังไม่มีข้อยุติ อย่างไรก็ตาม บริษัทย่อยมีผลขาดทุนจากการขายที่ดินดัง กล่าว ตามที่กล่าวไว้ในวรรคที่สองของหมายเหตุข้อนี้ ซึ่งบริษัทย่อยเชื่อว่าจะไม่มีภาระหนี้ สินจากเรื่องดังกล่าว 17. หนี้สินที่เกิดจากการค้ำประกันบริษัทย่อย จากการที่บริษัทย่อยประสบกับภาวะขาดทุนเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง อันมีผลกระทบมาจากสภาพ ภา วะเศรษฐกิจที่ถดถอยในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางคณะกรรมการของบริษัท ผาแดง พุงซาน เมท ทัลส์ จำกัด จึงมีมติให้หยุดการดำเนินงานและเลิกจ้างพนักงานตั้งแต่เดือนมกราคม 2541 และใน เดือน สิงหาคม 2541 บริษัทได้เปิดดำเนินการใหม่ชั่วคราวเพื่อปลดภาระตามสัญญาที่บริษัทมีอยู่ ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้ลงนามในสัญญาค้ำประกันเมื่อปี 2536 กับธนาคารออมสิน บริษัทมีภาระ ผูกพันในหนี้สินของบริษัท ผาแดง พุงซาน เมททัลส์ จำกัด บริษัทได้รับรู้ขาดทุนจากภาระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากภาระค้ำประกันในปัจจุบันและอนาคตของ บริษัท ผาแดง พุงซาน เมททัลส์ จำกัด ในงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2541 แล้ว จำนวน 292 ล้านบาท สำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2542 บริษัท ผาแดง พุงซาน เมททัลส์ จำกัด ได้ จ่ายชำระหนี้เงินกู้ยืมและดอกเบี้ยจ่ายบางส่วนแก่ธนาคารทำให้หนี้สินที่เกิดจากการค้ำประกัน บริษัทย่อยของบริษัท ลดลง บริษัทจึงได้รับรู้จำนวนดังกล่าวเป็นส่วนปรับปรุงการตั้งภาระหนี้จากการค้ำประกันบริษัท ย่อยได้ ซึ่งแสดงไว้ภายใต้หัวข้อ "รายได้อื่น" ...…/21 - 21 - ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 หนี้สินที่เกิดจากการค้ำประกันบริษัทย่อย มีดังนี้ งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท บาท บาท ดอกเบี้ยจ่าย ค่าเช่า ค่าเบี้ยประกัน และข้อผูกพันอื่นก่อนการจำหน่าย สินทรัพย์ของบริษัท ผาแดง พุงซาน เมททัลส์ จำกัด 10,076,000 13,515,000 จ่ายชำระเงินกู้ยืมหลังจากหัก มูลค่าทรัพย์สินที่คาดว่าขายได้ - 177,764,848 ข้อผูกพันตามสัญญาอื่น - 8,222,000 10,076,000 199,501,848 18. การดำเนินงานของบริษัทย่อย 18.1 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2542 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท ผาแดง พุงซาน เมททัลส์ จำกัด ได้มีมติให้บริษัทหยุดดำเนินงาน และบันทึกลดมูลค่าสินทรัพย์บางส่วนของบริษัทให้เป็นราคา ที่คาดว่าจะขายได้ในงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2541 โดยตีราคาตามราคาประเมิน ของ ผู้ประเมินราคาอิสระ ซึ่งได้ทำการประเมินราคาอาคารโรงงาน ส่วนปรับปรุงที่ดิน เครื่องจักรและ อุปกรณ์ของบริษัท ที่การนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง การประเมินราคาไม่รวมที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่หมู่บ้านปัญญา จังหวัดชลบุรี เฟอร์นิเจอร์และ สิ่งตรึงตรา อุปกรณ์สำนักงาน และสินค้าคงเหลือซึ่งได้แก่ วัสดุสิ้นเปลือง อะไหล่ เศษซาก และ งานระหว่างทำตามความคิดเห็นของผู้ประเมินราคาเห็นว่า ราคาที่เหมาะสมที่สุดในการประเมินราคา ยุติธรรมของบริษัทย่อยคือ การประเมินราคาสุทธิของสินทรัพย์ที่คาดว่าจะขายได้โดยมีการต่อรองกัน เป็นรายชิ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพและสถานที่ของสินทรัพย์ไม่ว่าจะขายทั้งหมดหรือแยกขายเป็นชิ้น ในเดือนมิถุนายน 2542 ได้มีการแต่งตั้งนายหน้าเพื่อทำการขายสินทรัพย์ของบริษัท ผาแดง พุงซาน เมททัลส์ จำกัด ...…/22 - 22 - ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เลิกใช้งานและรอการขายของบริษัท ผาแดง พุงซาน เมททัลส์ จำกัด ที่ รวมอยู่ในงบดุลรวมมีดังนี้ 30 กันยายน 2542 ราคา ตามบัญชี ส่วนปรับปรุงที่ดิน อาคารโรงงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ 111,000,004 ที่ดินและอาคารอื่น 12,500,000 บาท 123,500,004 สำหรับไตรมาสและสำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2542 และ 2541 ผลการดำเนินงานของ บริษัทย่อยดังกล่าว ประกอบด้วย สำหรับไตรมาสสิ้นสุด สำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน วันที่ 30 กันยายน 2542 2541 2542 2541 บาท บาท บาท บาท รายได้ รายได้จากการขาย 751,440 6,966,471 30,902,934 234,749,690 รายได้อื่น กำไร(ขาดทุน)จากอัตรา แลกเปลี่ยน - 15,074,638 - 93,539,550 อื่น ๆ 80,500 96,363 1,051,339 453,554 รวมรายได้ 831,940 22,137,472 31,954,273 328,742,794 ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขาย 1,387,959 5,950,428 26,232,059 161,523,150 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 24,512,628 33,922,097 52,621,785 140,399,231 รวมค่าใช้จ่าย 25,900,587 39,872,525 78,853,844 301,922,381 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (25,068,647) (17,735,053) (46,899,571) 26,820,413 18.2 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2542 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ผาแดง พร๊อพ เพอร์ตี้ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย มีมติพิเศษให้ลดทุนจดทะเบียนจากจำนวน 320 ล้านบาท เป็น 80 ล้านบาท และบริษัทย่อยดังกล่าวได้นำมติพิเศษดังกล่าวไปจดทะเบียนกับสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วน บริษัทแล้วเมื่อ วันที่ 8 กันยายน 2542 ...…/23 - 23 - 18.3 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2542 บริษัท ผาแดง พร็อพเพอร์ตี้ส จำกัด ได้ทำหนังสือถึงคณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อขอยกเลิกบัตรส่งเสริมการลงทุน ต่อมาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2542 บริษัท ดังกล่าวถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับทั้งหมด จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตาม คำสั่งที่ พ.69/2542 19. ความพร้อมในการเตรียมการรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2000 (ไม่ได้สอบทาน-ไม่ รวมอยู่ใน รายงานการสอบทานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต) บริษัทฯ ได้ทำการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบของปัญหาปี ค.ศ. 2000 สรุปได้ว่า กิจการไม่ได้รับ ผลกระทบอย่างเป็นนัยสำคัญทั้งในด้านการผลิตและระบบงานต่าง ๆ แต่จะมีผลกระทบบ้างกับระบบ คอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการผลิตในโรงงาน ระบบงานในคอมพิวเตอร์สำนักงาน ระบบการจัดเก็บฐาน ข้อมูล และรายงานบางอย่าง ทั้งนี้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบกำลังดำเนินการแก้ไขผลกระทบใน เรื่องเหล่านี้อยู่ และทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2542 สำหรับบริษัทย่อยได้วิ เคราะห์และประเมินแล้วสรุป ได้ว่า ไม่มีผลกระทบเกี่ยวกับปัญหาปี ค.ศ. 2000 เนื่องจากธุรกิจไม่ได้ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ระบบบัญชีสำเร็จรูปที่ซื้อมาใช้อยู่สามารถรองรับปี ค.ศ. 2000 ได้แล้วตั้งแต่เริ่มแรก บริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาปี ค.ศ. 2000 มาตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2540 ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 การปรับปรุงแก้ไขดังกล่าวแล้วเสร็จประมาณ ร้อยละ 90 ตามแผนงานจะให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือนตุลาคม 2542 และมีรายจ่ายสำหรับโครงการนี้มีจำนวน ประมาณ 1,050,000 บาท (สิ่งที่ยังปรับปรุงแก้ไขไม่เสร็จ คือ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมการ ผลิตในโรงงาน ของโรงถลุงสังกะสี จ. ตาก ซึ่งจะทำการปรับปรุงแก้ไขพร้อมๆ กับโรงงานหยุดการผลิต ชั่วคราวเพื่อซ่อมบำรุงใหญ่ประจำปีระหว่างวันที่ 18 - 21 ตุลาคมศกนี้ ทั้งนี้เพื่อให้การ ปรับปรุงแก้ไขจะได้ไม่มี ผลกระทบกับการผลิตของบริษัท) แม้บริษัทฯ ทราบว่ากิจการไม่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นนัยสำคัญ และคาดว่าสามารถทำการปรับปรุง แก้ไขระบบคอมพิวเตอร์ได้ทันตามกำหนด บริษัทฯ ก็ยังทำแผนสำรองฉุกเฉินของแต่ละสำนักงานเผื่อไว้ ถ้าเกิดปัญหาขึ้นจริงเมื่อถึงวันที่ 1 มกราคม 2543 และได้ว่าจ้างบริษัทภายนอกมาทำการตรวจเช็ค ความ ถูกต้องเรียบร้อยอีกรอบหนึ่ง ในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคมที่ผ่านมาและแม้บริษัทฯ มั่นใจว่าจะ สามารถทำการแก้ไขปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ได้ทันเมื่อถึงปี ค.ศ. 2000 บริษัทฯ ยังคงมีความ เสี่ยงต่อการที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วย จะไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงระบบได้ทันกาล อย่างไรก็ดี บริษัทฯ คาดว่า ผลกระทบดังกล่าวจะไม่มีนัยสำคัญต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ...…/24 - 24 - 20. เหตุการณ์หลังวันสิ้นงวด เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2542 บริษัทได้จำหน่ายหลักทรัพย์เผื่อขายซึ่งเป็นเงินลงทุนในหุ้น สามัญ บริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) จำนวน 11,377,300 หุ้น เป็นจำนวนเงินประมาณ 50.30 ล้านบาท บริษัทมีขาดทุนที่เกิดขึ้นแล้วจากการจำหน่ายหลักทรัพย์เผื่อขายนี้จำนวน 63.47 ล้านบาท