รายงานการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี2000ครั้งที่ 6
ที่ ผดม.ก.02.87/2542
1 พฤศจิกายน 2542
เรื่อง รายงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 (ครั้งที่ 6)
เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อ้างถึง 1. ประกาศสำนักงาน ก.ล.ต.ที่ สจ. 34/2541 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2541 เรื่อง การรายงานเกี่ยวกับ
การเตรียมความพร้อมของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เพื่อรองรับปี ค.ศ. 2000
2. ประกาศตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่อง การเปิดเผยสารสนเทศของบริษัทจดทะเบียนเกี่ยวกับการเตรียม
ความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2541
ตามหนังสือที่อ้างถึง บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ขอนำส่งแบบรายงานเกี่ยวกับ
การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 (ครั้งที่ 6) มาพร้อมนี้ด้วยแล้ว รวม 1 ชุด และโดยที่
งบประมาณในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวของบริษัทผาแดงฯ มีจำนวนเพียง 1.05 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงิน
ไม่เกินกว่า 10 ล้านบาท (หรือไม่เกินร้อยละ 5 ของส่วนของผู้ถือหุ้น) และบริษัทฯ ได้ทำการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ.
2000 ในส่วนที่กระทบทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งได้ว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อทำการตรวจสอบในรอบ
สุดท้ายเสร็จแล้วเช่นกัน บริษัทฯ จึงใคร่ขอยุติการรายงานดังกล่าวโดยให้ถือการรายงานครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นางอนิตา มาเรีย จันทรัศมี)
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ (การเงินและวางแผน)
ส่วนเลขานุการคณะกรรมการบริษัท
โทร. 661 9900 ต่อ 230, 232
แบบรายงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 (แบบ 57 (Y2K))
บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) (Padaeng Industry Public Company Limited) ประกอบธุรกิจ
หลัก ประเภทอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ถลุงแร่ และผลิตโลหะสังกะสี โดยมีที่ตั้งสำนักงานกรุงเทพอยู่ที่อาคารซีทีไอ
ทาวเวอร์ ชั้น 26-27 เลขที่ 191/18-25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 661-9900
โทรสาร 261-1110 ขอรายงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 (ครั้งที่ 6) ข้อมูลสิ้นสุด ณ
วันที่ 30 กันยายน 2542
1. การดำเนินการแก้ไขปัญหาของบริษัทฯ ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
1.1 บริษัทฯ ได้ดำเนินการแก้ไขตามแผนงานและขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรายงานครั้งที่แล้วทุกประการ
ณ สิ้นงวดการดำเนินงานแล้วเสร็จประมาณร้อยละ 90 ของงานที่ต้องดำเนินการทั้งหมด และเสร็จสมบูรณ์ ณ สิ้นเดือน
ตุลาคม 2542
- ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมการผลิตสังกะสีของโรงถลุงสังกะสี จ. ตาก ได้รับการแก้ไข
ปัญหา Y2K เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การแก้ไขนี้ได้ทำพร้อมกับช่วงที่โรงงานหยุดทำการผลิตชั่วคราวเพื่อซ่อมบำรุงประจำปี
ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อแผนการผลิตของบริษัทฯ
- การตรวจเช็ครอบสุดท้ายบริษัทผาแดงฯ ได้ว่าจ้างบริษัทภายนอก คือ บริษัท EDS (Thailand) Limited
เพื่อทำการตรวจเช็ค โดยได้ตรวจเช็คเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม คงเหลือเพียงสรุปรายงาน
ฉบับสมบูรณ์ให้แก่บริษัทฯ
1.2 ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นยังคงเท่ากับที่รายงานในครั้งที่ 5 คือ ประมาณ 1,050,000 บาท (สำหรับการแก้ไข
ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมการผลิตของโรงงานทั้งที่ จ. ระยอง และ จ. ตาก และว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อทำ
การตรวจเช็ครอบสุดท้าย) โดยที่ทั้งสองโรงงานใช้คอมพิวเตอร์ยี่ห้อ Foxboro ซึ่งจัดจำหน่ายและติดตั้งโดยบริษัท
Foxboro (Thailand) จึงจำเป็นต้องว่าจ้างบริษัทดังกล่าวในการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 แบ่งเป็นค่าใช้จ่าย (ในส่วนของ
โรงงานที่ จ. ระยอง) ประมาณ 200,000 บาท และประมาณ 600,000 (สำหรับโรงถลุงสังกะสี จ. ตาก) และว่าจ้างบริษัทฯ
ภายนอกเพื่อทำการตรวจเช็ครอบสุดท้ายประมาณ 250,000 บาท
2. บทวิเคราะห์และคำอธิบายของฝ่ายบริหาร
ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ผู้บริหารทุกฝ่ายได้ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานเป็นอย่าง
ดี โดยตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ถึงแม้ปัญหาดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบที่เป็นนัยสำคัญต่อการผลิตและระบบ
. . . / 2
2
งาน ฝ่ายบริหารได้กำหนดแผนงานและระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาไว้ประมาณ 2 ปี และตั้งเวลาสำรองไว้อีกประมาณ
6 เดือน การเตรียมความพร้อมและการแก้ไขส่วนใหญ่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ถึงแม้จะมีบางระบบงานล่าช้า
กว่ากำหนด แต่ก็อยู่ภายในกำหนดระยะเวลาของแผนงานรวม โดยผู้รับผิดชอบกำลังเร่งดำเนินการแก้ไขอยู่ จึงเป็นที่มั่นใจ
ได้ว่าปัญหาปี ค.ศ. 2000 ที่มีผลกระทบต่อบริษัทฯ และบริษัทย่อยจะสามารถดำเนินการแก้ไขได้ทันตามเวลาที่กำหนด
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้บริษัทฯ ทราบว่ากิจการจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นนัยสำคัญ และจะสามารถทำการปรับปรุงแก้
ไขระบบคอมพิวเตอร์ได้ทันตามกำหนด ฝ่ายจัดการได้ให้ทุกสำนักงานจัดเตรียมแผนสำรองฉุกเฉินเผื่อไว้ในกรณีหากเกิด
ปัญหาที่ไม่อาจคาดได้ขึ้นจริงเมื่อถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2000
ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบข้อความและข้อมูลในแบบรายงานฉบับนี้แล้ว ขอรับรองว่าข้อความและข้อมูล
ดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จไม่ทำให้ผู้อื่นสำคัญผิดหรือขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสำคัญอันอาจทำให้
ผู้ถือหุ้นหรือผู้เข้าซื้อหลักทรัพย์เสียหาย
ในกรณีนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่า เอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องที่เป็นชุดเดียว
กัน ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ นางอนิตา มาเรีย จันทรัศมี เป็นผู้ลงลายมือชื่อกำกับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใด
ไม่มีลายมือชื่อของ นางอนิตา มาเรีย จันทรัศมี กำกับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รองรับความถูกต้องของ
ข้อมูลไว้
ชื่อกรรมการผู้มีอำนาจ ตำแหน่ง ลายมือชื่อ
นายพินิต วงศ์มาศา กรรมการผู้จัดการและ …………………………………..
ประธานผู้บริหาร
ผู้ลงลายมือชื่อกำกับเอกสาร
นางอนิตา มาเรีย จันทรัศมี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ (การเงินและวางแผน) ….………………………………