หมายเหตุประกอบงบการเงินประจำไตรมาสที่ 2 ปี 42

บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล สำหรับไตรมาสและสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 และ 2541 1. ความผันผวนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยได้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง โดยมี สาเหตุมาจากเรื่องเสถียรภาพของค่าเงิน ความผันผวนของตลาดหุ้น และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลง ความไม่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวได้มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทในระดับหนึ่ง และ ยังอาจมีผลกระทบต่อไปต่อการดำเนินงานของบริษัท เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2542 บริษัทได้ทำสัญญา Override Amendment กับเจ้าหนี้ เพื่อเปลี่ยนแปลงระยะเวลา การชำระหนี้เงินต้น Tranche A โดยได้กำหนดให้บริษัททำการจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนที่เหลืออยู่อีก 75.1 ล้านหุ้น เพื่อ นำเงินมาชำระหนี้เงินต้น Tranche A ในวันที่ 15 กันยายน 2543 (ดูหมายเหตุข้อ 11) 2. เกณฑ์การเสนองบการเงินระหว่างกาล 2.1 งบการเงินระหว่างกาลรวมและงบการเงินระหว่างกาลเฉพาะของบริษัทสำหรับไตรมาสและสำหรับงวด หกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 และ 2541 ได้จัดทำขึ้นโดยผู้บริหารของบริษัท โดยยังมิได้มีการตรวจสอบ อย่างไรก็ตามบริษัทเห็นว่างบการเงินดังกล่าวได้มีการปรับปรุงเพื่อให้แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน อย่างถูกต้องตามที่ควรแล้ว งบการเงินระหว่างกาลได้จัดทำขึ้นตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2542 เรื่องการจัดทำและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2542 และบริษัทยังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 34 เรื่องงบ การเงินระหว่างกาล ข้อมูลบางประการซึ่งควรจะแสดงอยู่ในงบการเงินที่จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปมิได้นำมาแสดงไว้ ณ ที่ นี้ เนื่องจากมิได้มีการกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในงบการเงินระหว่างกาล ดังนั้นงบการเงินระหว่าง กาลรวมและงบการเงินระหว่างกาลเฉพาะของบริษัทดังกล่าวข้างต้นจึงควรอ่านประกอบกับงบการเงินรวมและงบ การเงินเฉพาะของบริษัทและหมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ซึ่งได้มีการ ตรวจสอบแล้ว …/2 - 2 - 2.2 ตามแนวทางปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำหรับงบการเงินระหว่างกาลรวม บริษัทรับรู้ผล ขาดทุนของบริษัทย่อยเต็มจำนวน (หลังจากหักส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในส่วนที่ไม่เกินกว่า ส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนน้อยในงบการเงินรวม) ซึ่งเกินกว่าเงินลงทุนในบริษัทย่อย ในการเสนองบการเงินระหว่างกาลเฉพาะของบริษัท บริษัทจะรับรู้ส่วนได้เสียในผลขาดทุนของบริษัทย่อย ที่มีผล ขาดทุนเกินทุนในจำนวนที่ไม่เกินเงินลงทุนในบริษัทย่อย ยกเว้นในกรณีที่บริษัทมีลูกหนี้ และหรือเงินให้กู้ยืม และหรือ ภาระค้ำประกันที่อาจเกิดขึ้นจากการค้ำประกันให้แก่บริษัทย่อยนั้น โดยจะแสดงส่วนได้เสียในผลขาดทุนที่เกินเงินลง ทุนและผลขาดทุนที่เกินส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยหักจากลูกหนี้ และหรือเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย ในงบการเงินระหว่างกาลรวม บริษัทบันทึกผลขาดทุนของบริษัทย่อยตามสัดส่วนการถือหุ้น นอกจากนั้นยังรับรู้ผลขาด ทุนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในส่วนที่เกินกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในงบการเงินรวมอีกด้วย ดังนั้นงบการเงิน ระหว่างกาลรวมและเฉพาะของบริษัท จึงไม่ได้แสดงกำไร (ขาดทุน) สุทธิและส่วนของผู้ถือหุ้นด้วยจำนวนที่เท่ากัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป บริษัทไม่ได้รับรู้ส่วนได้เสียในผลขาดทุนของบริษัท ผาแดง พุงซาน เมท ทัลส์ จำกัด (บริษัทย่อย) ในงบการเงินระหว่างกาลเฉพาะของบริษัท เนื่องจากบริษัทรับรู้ส่วนได้เสียในขาดทุนดัง กล่าวเต็มจำนวนโดยหักจากเงินลงทุน บันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเต็มจำนวนสำหรับลูกหนี้และเงินให้กู้ยืม และ บันทึกหนี้สินจากภาระค้ำประกันที่มีต่อบริษัทย่อยดังกล่าวแล้วในปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2541 2.3 งบการเงินระหว่างกาลรวมเป็นการรวมรายการบัญชีของบริษัทและบริษัทย่อยซึ่งบริษัทถือหุ้นในอัตราร้อย ละ ดังต่อไปนี้ อัตราการถือหุ้น ร้อยละ 2542 2541 บริษัท ผาแดง พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด 100.00 100.00 บริษัท ภูเทพ จำกัด 100.00 100.00 บริษัท ผาแดง พุงซาน เมททัลส์ จำกัด 61.98 61.98 บริษัท ผาแดง อินเตอร์เนชั่นแนล ไมนิ่ง จำกัด 100.00 100.00 บริษัท ศิลาเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด 55.00 55.00 …/3 - 3 - งบการเงินระหว่างกาลรวมสำหรับไตรมาสและสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 ได้รวมรายการ บัญชีของบริษัท เซาท์ อีส เอเชีย เมทัลส์ จำกัด ซึ่งบริษัทผาแดงพร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 100 ของบริษัทดังกล่าว และไม่ได้รวมรายการบัญชีของบริษัท ผาคำ เอ็กซ์พลอเรชั่น แอนด์ ไมนิ่ง จำกัด ซึ่งเดิม ถือหุ้นโดยบริษัท ภูเทพ จำกัด และบริษัท ภูเทพ จำกัด ได้โอนหุ้นทั้งหมดของบริษัท ผาคำ เอ็กซ์พลอเรชั่น แอนด์ ไมนิ่ง จำกัด ให้กับบริษัทร่วมทุนแห่งหนึ่งตามสัญญาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541 และไม่ได้รวมรายการบัญชีของ บริษัท ผาทอง เอ็กซ์พลอเรชั่น แอนด์ ไมนิ่ง จำกัด เนื่องจากบริษัทย่อยดังกล่าวได้จดทะเบียนเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2542 งบการเงินระหว่างกาลรวมสำหรับไตรมาสและสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุด วันที่ 30 มิถุนายน 2541ได้รวมรายการ บัญชีของบริษัท เซาท์ อีส เอเชีย เมทัลส์ จำกัดซึ่งบริษัท ผาแดงพร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 100 ของบริษัทดังกล่าว และยังได้รวมรายการบัญชีของบริษัท ผาทอง เอ็กซ์พลอเรชั่น แอนด์ ไมนิ่ง จำกัด และบริษัท ผาคำ เอ็กซ์พลอเรชั่น แอนด์ ไมนิ่ง จำกัด ซึ่งบริษัท ภูเทพ จำกัด ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 100 ของบริษัททั้งสอง แห่งดังกล่าว 2.4 งบการเงินระหว่างกาลเฉพาะของบริษัท สำหรับไตรมาสและสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 ไม่ได้รวมส่วนได้เสียในกำไร (ขาดทุน) สุทธิ ที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัท ผาแดงสยามอุตสาหกรรม จำกัด เนื่องจากบริษัทร่วมดังกล่าวได้จดทะเบียนเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2542 และชำระบัญชีเสร็จแล้วเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2542 บริษัทไม่ได้เปลี่ยนวิธีการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วม เนื่องจากจำนวนเงินไม่มีสาระ สำคัญ 2.5 งบการเงินระหว่างกาลเฉพาะของบริษัท สำหรับไตรมาสและสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 บริษัทไม่ได้รับรู้ส่วนได้เสียในกำไร (ขาดทุน) สุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัท ผาคำ เอ็กซ์พลอ เรชั่น แอนด์ ไมนิ่ง จำกัด ซึ่งเดิมถือหุ้นโดยบริษัท ภูเทพ จำกัด และได้โอนหุ้นทั้งหมดของบริษัท ผาคำ เอ็กซ์ พลอเรชั่น แอนด์ ไมนิ่ง จำกัด ให้กับบริษัทร่วมทุนแห่งหนึ่งตามสัญญาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541 2.6 บริษัทได้เปลี่ยนวิธีการบันทึกบัญชีเงินลงทุนของบริษัท ผาทอง เอ็กซ์พลอเรชั่น แอนด์ ไมนิ่ง จำกัด ตาม วิธีส่วนได้เสียไปเป็นวิธีราคาทุน โดยใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2542 เนื่องจากบริษัท ย่อยดังกล่าวได้จดทะเบียนเลิกบริษัทในวันดังกล่าว …/4 - 4 - 3. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ บริษัทได้ใช้นโยบายบัญชีในงบการเงินระหว่างกาลเช่นเดียวกับที่ใช้ในงบการเงินสำหรับปีก่อนหน้ายกเว้นเรื่องต่อ ไปนี้ 3.1 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุน สำหรับไตรมาสและสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 เงินลงทุนในหลักทรัพย์แสดงตามมาตรฐาน การบัญชีฉบับที่ 40 เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ซึ่งกำหนดให้มีการจัดประเภท แสดงมูลค่าและรับรู้กำไรขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ดังนี้ - หลักทรัพย์เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขายแสดงตามมูลค่ายุติธรรม กำไรหรือขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงใน มูลค่ายุติธรรม รับรู้ในงบกำไรขาดทุนสำหรับหลักทรัพย์เพื่อค้า และรับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้นสำหรับหลักทรัพย์เผื่อขาย - เงินลงทุนทั่วไปแสดงด้วยราคาทุน ในกรณีที่มีการด้อยค่าของเงินลงทุนทุกประเภทจะรับรู้ผลขาดทุนนั้นในงบกำไรขาดทุน เดิมเงินลงทุนในหลักทรัพย์แสดงตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่อง เงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามความต้องการ ของตลาด และฉบับที่ 17 เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุน เงินลงทุนดังกล่าวแสดงในราคาทุนรวมหรือราคาตลาด รวมที่ต่ำกว่า ขาดทุนที่เกิดขึ้นจะรับรู้ในงบกำไรขาดทุนสำหรับเงินลงทุนระยะสั้น สำหรับเงินลงทุนระยะยาวขาดทุน ดังกล่าวแสดงเป็นรายการหักจากส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุล และรับรู้ในงบกำไรขาดทุนในกรณีที่ราคาตลาดลดลง อย่างเป็นการถาวร 3.2 การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี สำหรับไตรมาสและสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 บริษัทได้เปลี่ยนแปลงประมาณการอายุการ ใช้งานของบ่อกากแร่จาก 20-25 ปี เป็น 4-16 ปี เนื่องจากอายุการใช้งานของบ่อที่ได้ใช้งานเต็มที่แล้วมีระยะ เวลาสั้นกว่าที่ได้ประมาณไว้ ผลจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการดังกล่าว ทำให้ค่าเสื่อมราคาและค่าจำหน่ายบ่อ กากแร่ สำหรับไตรมาสและสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 เพิ่มขึ้นรวมจำนวน 17,334,703 บาท กำไรสุทธิและกำไรสุทธิต่อหุ้นสำหรับงบการเงินระหว่างกาลรวมและเฉพาะของบริษัทสำหรับไตรมาสและ สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 ลดลง จำนวน 17,334,703 บาท และ 0.11 บาทต่อหุ้น ตามลำดับ …/5 - 5 - 4. เงินฝากธนาคารที่ใช้เป็นหลักประกัน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 เงินฝากธนาคารของบริษัทย่อยแห่งหนึ่งจำนวน 11,554,589 บาท ได้ใช้เป็นหลัก ประกันการขายเหรียญตัวเปล่ากับหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง และใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ทั่วไป ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 เงินฝากธนาคารของบริษัทย่อยแห่งหนึ่งจำนวน 3,554,589 บาท ได้ใช้เป็นหลัก ประกันการขายเหรียญตัวเปล่ากับหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง 5. หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ชื่อบริษัท ประเภท ทุนชำระแล้ว สัดส่วน เงินลงทุน เงินลงทุน กิจการ บาท เงินลงทุน วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย (%) 2542 2541 2542 2541 บาท บาท บาท บาท หลักทรัพย์เผื่อขาย บริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ผลิตและจำหน่าย ปุ๋ยเคมีต่างๆ 4,744,561,390 2.65 125,737,100 - 125,737,100 - หัก ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจาก หลักทรัพย์เผื่อขาย (26,404,791) - (26,404,791) - รวมหลักทรัพย์เผื่อขาย 99,332,309 - 99,332,309 - เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทได้มีการอนุมัติการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวข้าง ต้นทั้งหมด จึงได้จัดประเภทหลักทรัพย์ดังกล่าวซึ่งเดิมเคยแสดงเป็นเงินลงทุนระยะยาว ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 ไปเป็นเงินลงทุนชั่วคราว ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากหลักทรัพย์เผื่อขายได้แสดงเป็นรายการหักจากส่วนของผู้ถือ หุ้น ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากหลักทรัพย์หุ้นทุนในความต้องการของตลาดประเภทไม่หมุน เวียนได้แสดงเป็นรายการหักจากส่วนของผู้ถือหุ้น …/6 - 6 - 6. ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระแสเงินสด 6.1 เงินสดที่จ่ายในระหว่างไตรมาสสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 และ 2541 งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท 2542 2541 2542 2541 บาท บาท บาท บาท เงินสดจ่ายสำหรับภาษี 73,559 46,430 29,908 103,072 เงินสดจ่ายสำหรับดอกเบี้ย 84,470,632 124,568,527 79,500,745 115,113,539 เงินสดที่จ่ายในระหว่างงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 และ 2541 งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท 2542 2541 2542 2541 บาท บาท บาท บาท เงินสดจ่ายสำหรับภาษี 101,051 205,207 41,940 139,499 เงินสดจ่ายสำหรับดอกเบี้ย 176,967,162 335,765,978 166,882,031 289,718,163 6.2 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วยรายการเงินสด เงินฝากธนาคารและเงินฝากสถาบัน การเงิน ซึ่งเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกำหนดไม่เกิน 3 เดือน 6.3 รายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับเงินสดมีดังนี้ - สำหรับไตรมาสและสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 ลูกหนี้การค้ารายหนึ่งจำนวนเงิน 21.39 ล้านบาท ได้จ่ายชำระเป็นสินค้าจำนวน 19.79 ล้านบาท และมีภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นจำนวนเงิน 1.60 ล้านบาท - เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2542 บริษัทได้ทำสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินกับบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 7.15 ล้านบาท และหนี้สินเพิ่มขึ้นในจำนวนที่เท่ากัน - สำหรับไตรมาสและสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากหลักทรัพย์ เผื่อขายได้แสดงเป็นรายการหักจากส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินระหว่างกาลรวมและเฉพาะของบริษัทมีจำนวนลด ลง 66.64 ล้านบาท และ 59.10 ล้านบาท ตามลำดับ …/7 - 7 - - สำหรับไตรมาสและสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากหลักทรัพย์ หุ้นทุนในความต้องการของตลาดประเภทไม่หมุนเวียนได้แสดงเป็นรายการหักจากส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงิน ระหว่างกาลรวมและเฉพาะของบริษัทมีจำนวนเพิ่มขึ้น 61.61 ล้านบาท และ 6.29 ล้านบาท ตามลำดับ 7. ลูกหนี้การค้า งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท 2542 2541 2542 2541 บาท บาท บาท บาท ลูกหนี้การค้า 224,450,553 349,804,131 213,283,791 338,958,792 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (28,457,180) (73,489,572) (23,735,085) (54,714,050) 195,993,373 276,314,559 189,548,706 284,244,742 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 และ 2541 ลูกหนี้การค้าที่มีปัญหาในการชำระหนี้โดยมีหนี้ที่ค้างเกินกำหนดชำระ มากกว่า 3 เดือน มีดังนี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท จำนวนราย จำนวนเงิน จำนวนราย จำนวนเงิน บาท บาท ลูกหนี้การค้า - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 3 ถึง 6 เดือน - - 6 ถึง 12 เดือน - - มากกว่า 12 เดือนขึ้นไป - 1 46,809,476 - 46,809,476 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (ขาดทุนเกินเงินลงทุนในบริษัทย่อย) - (46,809,476) - - …/8 (ยังมีต่อ)