งบการเงินรวมไตรมาสแรกปี 2540 ของบริษัทผาแดงฯ และบริษัทย่อย
รายงานของผู้สอบบัญชี
เสนอคณะกรรมการ
บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)
ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุลรวม ลงวันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539 และ
งบกำไรขาดทุนรวมประจำแต่ละไตรมาสสิ้นสุดเพียงวันเดียวกันตามลำดับของบริษัท
ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชี
และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย การทำความ
เข้าใจเกี่ยวกับระบบในการจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์
ข้อมูลทางการเงิน และการสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี
ซึ่งการสอบทานนี้มีขอบเขตจำกัดกว่าการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
เพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินมาก ดังนั้นข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินที่
สอบทานได้
งบการเงินระหว่างกาลประจำไตรมาสสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 มีนาคม 2540
ของบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง แสดงผลขาดทุนสะสมเป็นจำนวนมาก จนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นคงเหลือ
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 มีจำนวน 1,914,897 บาท งบการเงินระหว่างกาลรวม
ประจำไตรมาสสิ้นสุดเพียงวันเดียวกันนี้ได้รวมสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทย่อยดังกล่าวหลังจาก
ตัดรายการระหว่างกันแล้วเป็นจำนวนเงิน 1,428 ล้านบาทและ 722 ล้านบาท ตามลำดับ
งบการเงินระหว่างกาลของบริษัทย่อยดังกล่าวได้จัดทำขึ้นโดยถือหลักว่ากิจการจะดำรงอยู่ต่อไป
การดำรงอยู่ต่อไปของบริษัทย่อยดังกล่าวจึงขึ้นอยู่กับแผนการดำเนินงานของบริษัทย่อยตามที่
กล่าวในหมายเหตุข้อ 4
ขึ้นอยู่กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนดังกล่าวในวรรคที่สาม ต่อ
งบการเงินระหว่างกาลรวมประจำไตรมาสสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 มีนาคม 2540 ข้าพเจ้า
ไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญอื่นซึ่งควรนำมาปรับปรุงงบการเงินระหว่างกาลรวมที่กล่าวในวรรคแรก
ให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป จากการสอบทานของข้าพเจ้าดังกล่าวข้างต้น
เติมศักดิ์ กฤษณามระ
กรุงเทพมหานคร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 1106
วันที่ 8 พฤษภาคม 2540 สำนักงานดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ
บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
งบดุลรวม
ลงวันที่ 31 มีนาคม
"ยังไม่ได้ตรวจสอบ"
หน่วย : พันบาท
2540 2539
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
ลูกหนี้การค้า 305,268 337,647
สินค้าคงเหลือ 907,215 993,167
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 742,651 507,606
1,955,134 1,838,420
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 4,992,932 5,087,233
สินทรัพย์อื่น 505,757 896,068
รวม 7,453,823 7,821,721
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร 1,415,797 1,015,060
เจ้าหนี้การค้า 133,654 246,331
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 1,049,231 1,083,613
2,598,682 2,345,004
เงินกู้ยืมระยะยาว 1,182,178 1,850,982
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 728 82,368
ส่วนของผู้ถือหุ้น 3,672,235 3,543,367
รวม 7,453,823 7,821,721
ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม
"สอบทานแล้ว"
บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
งบกำไรขาดทุนรวม
ประจำไตรมาสสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 มีนาคม
"ยังไม่ได้ตรวจสอบ"
หน่วย : พันบาท
2540 2539
รายได้
รายได้จากการขาย 767,940 930,476
รายได้อื่น 79,260 16,490
รวมรายได้ 847,200 946,966
ค่าใช้จ่าย
ต้นทุนขาย 660,890 940,222
ค่าใช้จ่ายอื่น 190,579 176,181
ส่วนได้เสียในขาดทุนสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทร่วม 1,317 1,830
รวมค่าใช้จ่าย 852,786 1,118,233
กำไร (ขาดทุน) สุทธิรวม (5,586) (171,267)
หัก กำไร (ขาดทุน) สุทธิของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทย่อย (16,228) (23,265)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 10,642 (148,002)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิประจำไตรมาสต่อหุ้น บาท 0.07 (1.42)
ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม
"สอบทานแล้ว"
บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม
ประจำไตรมาสสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539
1. เกณฑ์การเสนองบการเงิน
งบการเงินระหว่างกาลรวมเป็นการรวมรายการบัญชีของบริษัท และบริษัทย่อย ดังต่อไปนี้
อัตราการถือหุ้น
2540 2539
บริษัท ผาแดง พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด 100.00% 100.00%
บริษัท ภูเทพ จำกัด 100.00% 100.00%
บริษัท ผาแดง พุงซาน เมททัลส์ จำกัด 61.98% 61.98%
บริษัท ผาแดง อินเตอร์เนชั่นแนล ไมนิ่ง จำกัด 100.00% 100.00%
งบการเงินรวมปี 2540 และ 2539 ยังได้รวมรายการบัญชีของบริษัท เซาท์
อีส เอเซีย เมทัลส์ จำกัด ซึ่งบริษัท ผาแดงพร็อพเพอร์ตี้ส์
จำกัด ถือหุ้นในอัตรา 100% ของบริษัท ดังกล่าว และยังได้รวมรายการ
บัญชีของบริษัท ผาทอง เอ็กซ์พลอเรชั่น แอนด์ ไมนิ่ง จำกัด และ
บริษัท ผาคำ เอ็กซ์พลอเรชั่น แอนด์ ไมนิ่ง จำกัด ซึ่งบริษัท ภูเทพ จำกัด
ถือหุ้นในอัตรา 100% ของบริษัทดังกล่าวทั้งสองแห่ง
.../2
- 2 -
2 ส่วนได้เสียในกำไร (ขาดทุน) สุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทร่วม
สำหรับไตรมาสสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539 ส่วนได้
เสียในกำไร (ขาดทุน) สุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งในส่วนของบริษัทร่วมที่นำ
มารวมในงบการเงินรวมตามวิธีส่วนได้เสีย ซึ่งคำนวณจากงบการเงินประจำ
ไตรมาสที่ยังไม่ได้สอบทาน เมื่อคิดเป็นร้อยละของกำไรสุทธิรวมแล้วมีดัง ต่อไปนี้
ไตรมาสสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 มีนาคม
อัตราการ ร้อยละของ
ถือหุ้นร้อยละ กำไรสุทธิ
2540 2539 2540 2539
บริษัท ผาแดงสยามอุตสาหกรรม จำกัด 50 50 0.14 0.01
บริษัท ไอ พี ดี แลนด์ จำกัด 50 50 (12.52) (1.07)
(12.38) (1.06)
บริษัทไอ พี ดี แลนด์ จำกัด เป็นบริษัทร่วมลงทุนของบริษัทย่อยแห่ง
หนึ่ง บริษัทย่อยดังกล่าว ถือหุ้นในบริษัทร่วมลงทุนแห่งนั้นในอัตราร้อยละ 50
3. เงินกู้ยืมระยะยาวของบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง
เงินกู้ยืมระยะยาวส่วนหนึ่งเป็นเงินกู้ยืมจากธนาคารต่างประเทศในวงเงิน
20 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา มีกำหนดชำระคืน 6 งวด ๆ ละ เท่า ๆ
กัน ทุก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2537 และมีอัตรา
ดอกเบี้ย SIBOR+ ร้อยละ 0.75 ต่อปี เงินกู้นี้ค้ำประกันโดยบริษัทและ
บริษัท ต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท บริษัทย่อย
ได้จ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมดังกล่าวครบแล้วในเดือนสิงหาคม 2539
บริษัทย่อยได้ทำสัญญาเงินกู้อื่นกับสถาบันการเงินในประเทศและ
ธนาคาร โดยมีวงเงิน 320 ล้านบาทและ 150 ล้านบาทตามลำดับ
.../3
- 3 -
- วงเงิน 320 ล้านบาท มีกำหนดชำระคืน 16 งวด ๆ ละ เท่า ๆ กัน
ทุก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2536 และมีอัตรา
ดอกเบี้ย MLR ต่อปี ซึ่งสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวได้ระบุเงื่อนไขที่
สำคัญซึ่งรวมถึงผู้กู้จะไม่ทำการจำนองจำนำทรัพย์สินของผู้กู้แก่เจ้า
หนี้รายอื่นและการดำรงอัตราส่วนหนี้สินทั้งหมดต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
ของผู้กู้ไว้ไม่เกิน 4:1 ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่
กำหนดในสัญญา ผู้ให้กู้อาจจะคิดดอกเบี้ยเพิ่มหรือผู้ให้กู้อาจจะแจ้ง
ให้ผู้กู้ดำเนินการแก้ไขกรณีผิดสัญญา หากผู้กู้ยังมิได้แก้ไข ผู้ให้กู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
แล้ว เรียกเงินกู้ที่ค้างชำระคืนทั้งหมดได้
เงินกู้นี้ค้ำประกันโดยบริษัทและบริษัทต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท
เมื่อปลายปี 2538 บริษัทย่อยได้ติดต่อเจ้าหนี้เงินกู้ธนาคารและ
สถาบันการเงินในประเทศขอผ่อนผันการจ่ายชำระส่วนของหนี้ระยะยาวที่ถึง
กำหนดชำระในหนึ่งปีจำนวน 40 ล้านบาท และได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้า
หนี้ดังกล่าวลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 ให้ได้รับการผ่อนผันการ
จ่ายชำระส่วนหนึ่งของหนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระในหนึ่งปีดังกล่าว
ข้างต้นแล้ว ซึ่งทำให้งวดสุดท้ายของการจ่ายชำระเงินกู้ดังกล่าว
เปลี่ยนจากเดิมเป็นปี 2545
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539 บริษัทย่อยนี้มีเงินกู้ยืมตามวง
เงินดังกล่าวคงเหลือเป็นจำนวนเงิน 200 ล้านบาท และ 220 ล้านบาท ตามลำดับ
- วงเงิน 150 ล้านบาท มีกำหนดชำระคืน 8 งวด ๆ ละ เท่า ๆ กัน
ทุก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2540 และมีอัตรา
ดอกเบี้ย MLR+ ร้อยละ 0.25 ต่อปี ซึ่งสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวฉบับนี้
ได้ระบุเงื่อนไขที่สำคัญซึ่งรวมถึง ผู้กู้จะไม่ทำการจำนองจำนำ
ทรัพย์สินของผู้กู้แก่เจ้าหนี้รายอื่นและการดำรงอัตราส่วนหนี้สิน
ทั้งหมดต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของผู้กู้ไว้ไม่เกิน 2:1 ในกรณีที่ผู้
กู้ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา ผู้ให้กู้อาจจะคิดดอกเบี้ย
เพิ่มหรือผู้ให้กู้อาจจะแจ้งให้ผู้กู้ดำเนินการแก้ไขกรณีผิด
สัญญา หากผู้กู้ยังมิได้แก้ไข ผู้ให้กู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแล้ว
เรียกเงินกู้ที่ค้างชำระคืนทั้งหมดได้ เงินกู้นี้ค้ำประกันโดยบริษัท
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539 บริษัทย่อยนี้มีเงินกู้ยืมตามวง
เงินดังกล่าวคงเหลือเป็นจำนวน 150 ล้านบาท
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 บริษัทย่อยนี้มีอัตราส่วนหนี้สินทั้งหมด
ต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเกินอัตราส่วนที่ได้ระบุไว้ในสัญญาสองสัญญาดัง
กล่าวข้างต้นมากจึงได้แสดงเงินกู้ระยะยาวดังกล่าวนี้เป็นส่วนของหนี้ระยะยาว
ที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปีภายใต้หัวข้อหนี้สินหมุนเวียนและฝ่าย
บริหารของบริษัทย่อยกำลังดำเนินการเพื่อให้อัตราส่วนเป็นไปตามเงื่อนไขต่อไป
.../4
- 4 -
4. การดำเนินงานของบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง
ในไตรมาสสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 มีนาคม 2540 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมี
ผลขาดทุนเป็นจำนวนมาก จนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยคงเห
ลือ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 มีจำนวน 1,914,897 บาท และบริษัทย่อยดัง
กล่าวได้ดำเนินการเพื่อจัดหาเงินทุนดังต่อไปนี้
4.1 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2540 คณะกรรมการของบริษัทย่อยได้มีมติให้
ฝ่ายจัดการดำเนินการ วิเคราะห์แผนการเพิ่มทุน เพื่อจะได้นำมา
พิจารณาเรียกชำระเงินเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นต่อไป
4.2 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2540 บริษัทย่อยได้ทำสัญญากับบริษัทที่
ปรึกษาทางการเงินแห่งหนึ่ง เพื่อให้บริษัทดังกล่าวดำเนินการศึกษา
วิเคราะห์ฐานะทางการเงินของบริษัท และให้คำแนะนำและเสนอแนะแผนการ
ปรับโครงสร้างทางการเงินและการระดมทุน ซึ่งรวมถึงการกำหนดอัตราส่วน
หนี้สินต่อทุนและโครงสร้างของเงินทุนที่เหมาะ