รายงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ.2000
ที่ ผดม.ก.02.21/2542
2 มีนาคม 2542
เรื่อง รายงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 (ครั้งที่ 3)
เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อ้างถึง ประกาศตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่อง การเปิดเผยสารสนเทศของบริษัทจดทะเบียนเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อ
รองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2541
ตามหนังสือที่อ้างถึงบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ขอนำส่งแบบรายงานเกี่ยวกับการเตรียม
ความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 (ครั้งที่ 3) มาพร้อมนี้ด้วยแล้ว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นางสาวกนิษฐา อุชชิน)
ผู้จัดการส่วนเลขานุการคณะกรรมการ
แบบรายงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 (แบบ 57 (Y2K))
บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) (Padaeng Industry Public Company Limited) ประกอบธุรกิจหลัก
ประเภทอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ถลุงแร่ และผลิตโลหะสังกะสี โดยมีที่ตั้งสำนักงานกรุงเทพอยู่ที่อาคารซีทีไอ ทาวเวอร์
ชั้น 26-27 เลขที่ 191/18-25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 261-1111 โทรสาร 261-1110
ขอรายงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 (ครั้งที่ 3) ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541
1. การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000
บริษัทฯ ได้ปรับขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาฯ จากแผนงานที่แจ้งไว้เดิม เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์
และสภาพที่ปฏิบัติจริง ดังนี้ คือ
(1) ช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ค.ศ. 1997 ประเมินผลกระทบและจัดทำแผนแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000
ต่อองค์กรและระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
(2) ช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 ดำเนินการแก้ไขระบบปฏิบัติการ (Operating system) ของ
เครื่อง Mini Computer ยี่ห้อ IBM รุ่น AS/400
(3) ดำเนินการแก้ไขระบบงานที่มีผลกระทบทั้งบนเครื่อง IBM AS/400 และบนเครื่อง PC
- ช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1997-มีนาคม ค.ศ. 1998 แก้ไขระบบคิดค่าเสื่อมราคาบนเครื่อง IBM AS/400
- ช่วงเดือนเมษายน-พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 แก้ไขระบบจัดซื้อบนเครื่อง IBM AS/400
- ช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1998-กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 แก้ไขระบบจัดซื้อบนเครื่อง PC
- ช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม ค.ศ. 1998 แก้ไขระบบการขายบนบนเครื่อง PC
- ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ค.ศ. 1999 แก้ไขระบบการขายบนบนเครื่อง IBM AS/400
(4) ช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคม ค.ศ. 1998 ทำการตรวจสอบ PC ทั้งบริษัท และแก้ไขบางส่วนที่แก้ไขได้
ส่วนที่เหลือจะทำการแก้ไขในเดือนมกราคม ค.ศ. 2000
(5) ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ค.ศ. 1999 ทุกสำนักงานจัดทำแผนสำรองฉุกเฉิน
(6) ช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ค.ศ. 1999 ดำเนินการแก้ไขระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมการ
ผลิตของโรงย่างแร่ที่จ. ระยอง และโรงถลุงสังกะสีที่ จ. ตาก
(7) ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ค.ศ. 1999 ทำการปรับปรุงและตรวจเช็คระบบทั้งหมดรอบสุดท้าย
โดยจะทำการว่าจ้างบริษัทภายนอกมาทำการตรวจเช็คให้
2. การดำเนินการแก้ไขปัญหาของบริษัทฯ ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
2.1 บริษัทฯ ได้ดำเนินการแก้ไขตามแผนงานและขั้นตอนที่กำหนดไว้ใหม่ข้างต้น จนถึงปัจจุบันการดำเนิน
งาน ได้แล้วเสร็จประมาณร้อยละ 75 ของงานที่ต้องดำเนินการทั้งหมด โดยสรุปผลได้ดังนี้
. . . / 2
2
- เดือนสิงหาคม-กันยายน ค.ศ. 1997 ประเมินผลกระทบและจัดทำแผนแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ต่อ
องค์กรและระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดแล้วเสร็จตามกำหนด
- เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1997 ดำเนินการแก้ไขระบบปฏิบัติการของเครื่อง IBM AS/400 ให้รองรับปี ค.ศ.
2000 เป็นที่เรียบร้อย โดยบริษัท IBM (ประเทศไทย) และไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
- เดือนธันวาคม ค.ศ. 1997-มีนาคม ค.ศ. 1998 ดำเนินการแก้ไขระบบคิดค่าเสื่อมราคาบนเครื่อง IBM
AS/400 ให้รองรับปี ค.ศ. 2000 โดยทีมงานของบริษัทฯ แล้วเสร็จตามกำหนด
- เดือนเมษายน-พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 ดำเนินการแก้ไขระบบจัดซื้อบนเครื่อง IBM AS/400 ให้รองรับปี
ค.ศ. 2000 โดยทีมงานของบริษัทฯ แล้วเสร็จตามกำหนดการใหม่ (ระบบนี้ล่าช้ากว่ากำหนดการเดิมที่วางไว้ แต่แล้วเสร็จ
ตามหมายกำหนดการใหม่ เนื่องจากเมื่อปฏิบัติงานจริง พบว่าความซับซ้อนและปริมาณของงานมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
มาก)
- เดือนธันวาคม ค.ศ. 1998 ปัจจุบัน อยู่ในระหว่างแก้ไขระบบจัดซื้อบนเครื่อง PC ให้รองรับปี ค.ศ. 2000
เสร็จแล้วประมาณร้อยละ 50 ระบบนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จตามหมายกำหนดการใหม่ คือ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.
1999 (กำหนดการของระบบนี้ได้เลื่อนออกไปตามความล่าช้าของระบบจัดซื้อบนเครื่อง IBM AS/400)
- เดือนกันยายน-ธันวาคม ค.ศ. 1998 ดำเนินการแก้ไขระบบการขายบนเครื่อง PC ให้รองรับปี ค.ศ. 2000
โดยทีมงานของบริษัทฯ แล้วเสร็จตามกำหนด
- ระบบการขายบนเครื่อง IBM AS/400 ยังไม่ถึงกำหนดการแก้ไข จะทำการแก้ไขระหว่างเดือนมกราคม-
มีนาคม ค.ศ. 1999
- สำหรับการตรวจเช็ค PC ว่าจะรองรับปี ค.ศ. 2000 ได้หรือไม่นั้น เริ่มตั้งแต่ เดือนเมษายน ค.ศ. 1998 -
ปัจจุบัน แล้วเสร็จเกือบทั้งหมด ส่วนการแก้ไขแล้วเสร็จประมาณร้อยละ 40 สิ่งที่พบ คือ PC รุ่นใหม่ ๆ (Pentium หรือ
Pentium II) สามารถรองรับปี ค.ศ. 2000 ได้แล้วตั้งแต่ซื้อมา ขณะที่ PC รุ่นเก่า (รุ่น 486 หรือต่ำกว่า) ที่บริษัทฯ มีอยู่ทั้ง
หมด สามารถแก้ไขให้รองรับปี ค.ศ. 2000 ด้วยวิธี Manual ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เกิดขึ้น กล่าวคือ เมื่อถึงวันที่ 1
มกราคม ค.ศ. 2000 หรือหลังจากนั้น ให้พิมพ์วันที่ 01-01-2000 หรือวันที่นั้น ๆ เข้าไปในเครื่อง PC ดังกล่าว เครื่องก็จะจำ
และรองรับปี ค.ศ. 2000 ได้ทันที และตลอดไป ดังนั้นบริษัทฯ จะใช้วิธีนี้ในการแก้ไข PC รุ่นเก่า ๆ และจะทำการแก้ไข
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2000
- ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมการผลิตของโรงงานทั้งที่ จ. ระยอง และ จ. ตาก ยังไม่ถึงกำหนด
แก้ไข จะเริ่มแก้ไขที่โรงงาน จ. ระยอง ตามกำหนดการใหม่ คือ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1999 และที่โรงงาน จ. ตาก ใน
เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1999 (การแก้ไขนี้จะทำการพร้อม ๆ กับช่วงที่โรงงานหยุดทำการผลิตชั่วคราวเพื่อซ่อมบำรุงใหญ่
ประจำปี ทั้งนี้เพื่อจะได้ไม่มีผลกระทบกับแผนการผลิตของบริษัทฯ)
- การจัดทำแผนสำรองฉุกเฉิน ยังไม่ถึงกำหนดการ แต่ได้เริ่มจัดทำบ้างแล้วประมาณ 30 %
- การตรวจเช็ครอบสุดท้าย โดยว่าจ้างบริษัทภายนอกมาทำการตรวจเช็ค ยังไม่ถึงกำหนดการ
2.2 ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นไม่เปลี่ยนแปลงจากตามที่ได้รายงานในครั้งแรกและครั้งที่ 2 คือ ประมาณ 800,000 บาท
(สำหรับการแก้ไขระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมการผลิตของโรงงานทั้งที่ จ. ระยอง และ จ. ตาก) ซึ่งทั้ง 2 โรง
. . . / 3
3
งานใช้คอมพิวเตอร์ยี่ห้อ Foxboro จัดจำหน่าย และติดตั้งโดยบริษัท Foxboro (Thailand) ในการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000
จะต้องว่าจ้างบริษัท Foxboro (Thailand) เท่านั้น แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 200,000 บาท (สำหรับโรงงาน จ.ระยอง)
และประมาณ 600,000 (สำหรับโรงงาน จ.ตาก)
3. บทวิเคราะห์และคำอธิบายของฝ่ายบริหาร
ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ผู้บริหารทุกฝ่ายได้ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานเป็น
อย่างดี โดยตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ถึงแม้จะไม่เป็นนัยสำคัญต่อการผลิตและระบบงานก็ตาม ฝ่ายบริหารได้
กำหนดแผนงานและระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาไว้ประมาณ 2 ปี พร้อมมีเวลาสำรองไว้อีกประมาณ 6 เดือน การเตรียม
ความพร้อมและการแก้ไขส่วนใหญ่ เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ แม้จะมีบางระบบงานล่าช้ากว่ากำหนด แต่ก็ยังอยู่
ภายในกำหนดระยะเวลาของแผนงานรวม และผู้รับผิดชอบก็กำลังเร่งดำเนินการแก้ไขอยู่ จึงมั่นใจว่าปัญหาปี ค.ศ. 2000
ที่มีผลกระทบต่อบริษัทฯ และบริษัทย่อยจะสามารถดำเนินการแก้ไขได้ทันตามเวลาที่กำหนด ถึงแม้ว่าบริษัทฯ ทราบว่า
กิจการจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นนัยสำคัญ และคาดว่าสามารถทำการปรับปรุงแก้ไขระบบคอมพิวเตอร์ได้ทันตาม
กำหนด ฝ่ายจัดการได้ให้ทุกสำนักงานทำแผนสำรองฉุกเฉินเผื่อสำหรับในกรณีหากเกิดปัญหาที่คาดไม่ถึงมื่อถึงวันที่
1 มกราคม ค.ศ. 2000
ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบข้อความและข้อมูลในแบบรายงานฉบับนี้แล้ว ขอรับรองว่าข้อความและข้อมูล
ดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จไม่ทำให้ผู้อื่นสำคัญผิดหรือขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสำคัญอันอาจทำให้
ผู้ถือหุ้นหรือผู้เช่าซื้อหลักทรัพย์เสียหาย
ในกรณีนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่า เอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องที่เป็นชุดเดียว
กัน ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ นางอนิตา มาเรีย จันทรัศมี เป็นผู้ลงลายมือชื่อกำกับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใด
ไม่มีลายมือชื่อของ นางอนิตา มาเรีย จันทรัศมี กำกับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รองรับความถูกต้องของ
ข้อมูลไว้
ชื่อกรรมการผู้มีอำนาจ ตำแหน่ง ลายมือชื่อ
นายเบร็ต โธมัส แลมเบิร์ท กรรมการผู้จัดการและ ................
ประธานผู้บริหาร
นางอนิตา มาเรีย จันทรัศมี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ (ด้านการเงิน) ...............