แบบรายงานเกี่ยวกับเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาค.ศ.2000

ที่ ผดม.ก.02.81/2541 28 สิงหาคม 2541 เรื่อง รายงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 (แบบ 57 (Y2K)) เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อ้างถึง ประกาศตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่อง การเปิดเผยสารสนเทศของบริษัทจดทะเบียนเกี่ยวกับการ เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2541 ตามหนังสือที่อ้างถึง บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ขอนำส่งแบบ 57 (Y2K) ของการรายงานครั้งแรก มาพร้อมนี้ด้วยแล้ว จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ (นายเวคิน อุทารธรรม) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ (ด้านการเงิน) แบบรายงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 (แบบ 57 (Y2K)) บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) (Padaeng Industry Public Company Limited) ประกอบธุรกิจหลัก ประเภทอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ถลุงแร่ และผลิตโลหะสังกะสี โดยมี ที่ตั้งสำนักงานกรุงเทพอยู่ที่อาคารซีทีไอ ทาวเวอร์ ชั้น 26-27 เลขที่ 191/18-25 ถนนรัชดาภิเษก คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 261-1111 โทรสาร 261-1110 ขอรายงานเกี่ยวกับการ เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 (ครั้งที่ 1) ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2541 การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 1. การวิเคราะห์และประเมินผลกระทบ บริษัทฯ ได้ทำการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบของปัญหาปี ค.ศ. 2000 สรุปได้ว่า กิจการจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นนัยสำคัญ ทั้งในด้านการผลิตและระบบงานต่างๆ แต่จะมีผลกระทบ บ้างกับระบบคอมพิวเตอร์ระบบการจัดเก็บฐานข้อมูล และรายงานบางตัว ทั้งนี้ ปัญหาส่วนใหญ่ได้ดำเนิน การโดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามสายงานแล้ว สำหรับบริษัทย่อย ได้วิเคราะห์และประเมินแล้ว ไม่มีผล กระทบเกี่ยวกับปัญหาปี ค.ศ. 2000 ใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการดำเนินการ ระบบบัญชีที่ซื้อมาใช้อยู่ สามารถรองรับ ปี ค.ศ. 2000 ได้แล้วตั้งแต่ 2. ผลกระทบของปัญหาปี ค.ศ. 2000 ต่อการดำเนินธุรกิจ ปัญหาปี ค.ศ. 2000 จะไม่มีผลกระทบเป็นนัยสำคัญทั้งด้านการผลิตและระบบงาน แต่จะมี ผลกระทบบ้างกับระบบคอมพิวเตอร์ ระบบการจัดเก็บฐานข้อมูล และรายงานบางตัว ดังนี้ 2.1 ระบบคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานกรุงเทพ คือ Mini computer ยี่ห้อ IBM รุ่น AS/400 มีผลกระทบ คือ - การเก็บข้อมูลหน่วยปี (Year) ของระบบปฏิบัติการ (Operating system) ซึ่งเก็บเพียง 2 หลัก เข้าใจปี 00 เป็นปี ค.ศ. 1900 แทนที่จะเป็นปี ค.ศ. 2000 ซึ่งปี ค.ศ. 1900 เดือนกุมภาพันธ์ มีเพียง 28 วัน ขณะที่ปี ค.ศ. 2000 เดือนกุมภาพันธ์ มี 29 วัน .../2 - 2 - - ระบบงาน 3 ระบบ คือ ระบบคิดค่าเสื่อมราคา (Fixed asset) ระบบจัดซื้อ (Purchasing) และระบบการขาย (Sales and delivery) (ส่วนระบบงานที่เหลือซึ่งไม่ได้กล่าว ไว้ ณ ที่นี้ ไม่มีผลกระทบใดๆ) ผลกระทบ คือ การเก็บข้อมูลหน่วยปีเพียง 2 หลัก ทำให้การจัดเรียง ลำดับ (Sort) การคำนวณอายุ และวันครบกำหนด (Due date) ต่างๆ ผิดพลาดได้ 2.2 ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมการผลิตของโรงงานทั้งที่ จ. ตาก และ จ. ระยอง ซึ่งใช้ยี่ห้อ Foxboro ทั้งหมด ผลกระทบ คือการเก็บข้อมูลหน่วยปีเพียง 2 หลักของระบบ ปฏิบัติการ ทำให้เข้าใจปี 00 เป็นปี ค.ศ. 1900 แทนที่จะเป็นปี ค.ศ. 2000 และถ้ามีการนำข้อมูล หน่วยปีดังกล่าวไปจัดเรียงลำดับ คำนวณอายุ หรือวันครบกำหนดต่างๆ ก็จะผิดพลาดได้เช่นกัน 2.3 ระบบงานที่ติดต่อเชื่อมโยงกับบริษัทภายนอก ไม่มีสิ่งใดได้รับผลกระทบจากปัญหาปี ค.ศ. 2000 2.4 Personnel computer (PC) รุ่นเก่าๆ เข้าใจปี 00 เป็นปี ค.ศ. 1900 เช่นกัน แต่ทั้งนี้ไม่มีผลกระทบต่องานหลักของบริษัทฯ เพราะส่วนใหญ่ใช้ในการเตรียมและพิมพ์เอกสารทั่วไปเท่านั้น และเครื่อง PC ดังกล่าวก็มีจำนวนไม่มาก 3. แผนงานในการแก้ไขปัญหา 3.1 ผู้รับผิดชอบและการรายงานการแก้ไขปัญหา ทั้งบริษัทฯ และบริษัทย่อยได้มอบหมาย ให้ส่วนคอมพิวเตอร์ของบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 โดยให้รายงานการ แก้ไขทุกขั้นตอนต่อกรรมการผู้จัดการและคณะผู้บริหารของบริษัทฯ ทุกไตรมาส 3.2 หน่วยงานที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 คือ ส่วนคอมพิวเตอร์ของบริษัทฯ มีจำนวนพนักงานทั้งหมด 6 คน 3.3 ขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาและระบบการตรวจสอบ (1) ช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ค.ศ. 1997 ประเมินผลกระทบและจัดทำแผนแก้ไข ปัญหาปี ค.ศ. 2000 ต่อองค์กรและระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด .../3 - 3 - (2) ช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 ดำเนินการแก้ไขระบบปฏิบัติการ (Operating system) ของเครื่อง Mini Computer ยี่ห้อ IBM รุ่น AS/400 (3) ดำเนินการแก้ไขระบบงานที่มีผลกระทบ (บนเครื่อง IBM AS/400) - ช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1997 - มีนาคม ค.ศ. 1998 แก้ไขระบบคิดค่าเสื่อมราคา - ช่วงเดือนเมษายน-สิงหาคม ค.ศ. 1998 แก้ไขระบบจัดซื้อ - ช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม ค.ศ. 1998 แก้ไขระบบการขาย (4) ช่วงเดือนเมษายน-ธันวาคม ค.ศ. 1998 ทำการเช็คและแก้ไข PC (5) ช่วงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1998 - มกราคม ค.ศ. 1999 ดำเนินการ แก้ไขระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมการผลิตของโรงงานทั้งที่ จ. ตาก และ จ. ระยอง (6) ช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม ค.ศ. 1999 ทำการปรับปรุงและตรวจเช็คระบบ ทั้งหมดรอบสุดท้าย 3.4 ค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะต้องใช้ในการดำเนินการแก้ไขในแต่ละขั้นตอน ค่าใช้จ่ายที่จะ เกิดขึ้น มีเพียงขั้นตอนเดียว คือ ขั้นตอนที่ 5 ในหัวข้อ 3.3 ข้างต้น กล่าวคือ การแก้ไขระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการควบคุมการผลิตของโรงงานทั้งที่ จ. ตาก และ จ. ระยอง ซึ่งทั้ง 2 โรงงานใช้คอมพิวเตอร์ ยี่ห้อ Foxboro จัดจำหน่าย และติดตั้งโดยบริษัท Foxboro (Thailand) การแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 จะต้องว่าจ้างบริษัท Foxboro (Thailand) เท่านั้น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 600,000 บาท (สำหรับโรงงาน จ. ตาก) และประมาณ 200,000 บาท (สำหรับโรงงาน จ. ระยอง) และมี งบประมาณรองรับอยู่แล้ว 4. การดำเนินการแก้ไขปัญหาของบริษัทฯ ในปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ดำเนินการแก้ไขตามแผนงานและขั้นตอนที่กำหนดไว้ในหัวข้อ 3.3 ทุกประการ จนถึงปัจจุบันงานแล้วเสร็จไปประมาณร้อยละ 65 ของงานที่ต้องดำเนินการทั้งหมด โดยสรุปผลได้ดังนี้ - เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1997 ดำเนินการแก้ไขระบบปฏิบัติการของเครื่อง IBM AS/400 ให้รองรับปี ค.ศ. 2000 เป็นที่เรียบร้อย โดยบริษัท IBM (ประเทศไทย) และไม่เสีย ค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น - เดือนธันวาคม ค.ศ. 1997 - มีนาคม ค.ศ. 1998 ดำเนินการแก้ไขระบบคิดค่า เสื่อมราคาให้รองรับปี ค.ศ. 2000 โดยทีมงานของบริษัทฯ แล้วเสร็จตามกำหนด .../4 - 4 - - เดือนเมษายน ค.ศ. 1998 - ปัจจุบัน อยู่ระหว่างแก้ไขระบบจัดซื้อให้รองรับปี ค.ศ. 2000 เสร็จแล้วประมาณร้อยละ 50 - ระบบการขาย ค.ศ. 1998 ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการแก้ไข - เดือนเมษายน ค.ศ. 1998 - ปัจจุบัน การตรวจเช็ค และแก้ไข PC เสร็จแล้วประมาณ ร้อยละ 40 ส่วนระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมการผลิตของโรงงานทั้งที่ จ. ตาก และ จ. ระยอง ยังไม่ถึงกำหนดแก้ไข 5. บทวิเคราะห์และคำอธิบายของฝ่ายบริหาร ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ผู้บริหารทุกฝ่ายได้ให้ความร่วมมือในการ ดำเนินงานเป็นอย่างดี โดยตระหนักถึงผลกระทบ ถึงแม้จะไม่เป็นนัยสำคัญต่อการผลิตและระบบงานก็ตาม ฝ่ายบริหารได้กำหนดแผนงานและระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาไว้ประมาณ 2 ปี การเตรียมความพร้อม และการดำเนินการแก้ไขเป็นไปตามแผนและกำหนดการที่วางไว้ทุกประการ จึงมั่นใจว่าปัญหาปี ค.ศ. 2000 ที่มีผลกระทบกับบริษัทฯ และบริษัทย่อย จะสามารถดำเนินการได้ทันเวลาตามกำหนด ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบข้อความและข้อมูลในแบบรายงานฉบับนี้แล้ว ขอรับรองว่าข้อความและ ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จไม่ทำให้ผู้อื่นสำคัญผิดหรือขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระ สำคัญอันอาจทำให้ผู้ถือหุ้นหรือผู้เช่าซื้อหลักทรัพย์เสียหาย ในกรณีนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่า เอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้อง ที่เป็นชุดเดียวกัน ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ นายเวคิน อุทารธรรม เป็นผู้ลงลายมือชื่อกำกับเอกสารนี้ไว้ ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ นายเวคิน อุทารธรรม.กำกับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รองรับความถูกต้องของข้อมูลไว้ ชื่อกรรมการผู้มีอำนาจ ตำแหน่ง ลายมือชื่อ นายอาสา สารสิน ประธานกรรมการบริหาร ........................... และประธานผู้บริหาร ชื่อผู้รับมอบอำนาจ ตำแหน่ง ลายมือชื่อ นายเวคิน อุทารธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ (ด้านการเงิน) .....................