ขอใช้สิทธิผ่อนผันไม่นับผลขาดทุนที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนฯ
ที่ ผดม.ก.02.112/2540
21 พฤศจิกายน 2540
เรื่อง ขอใช้สิทธิผ่อนผันไม่นับผลขาดทุนที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง
ในการพิจารณาการเข้าเกณฑ์อาจถูกเพิกถอนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ
เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อ้างถึง 1. หนังสือของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ บจ./ม(ว) 55/2540 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540
2. หนังสือของบริษัทฯ ที่ ผดม.ก.02.109/2540 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2540
สิ่งที่ส่งมาด้วย รายงานข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ตามที่อ้างถึง บริษัทผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ขอนำส่งรายงานข้อมูลเพิ่มเติม
เกี่ยวกับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในส่วนที่เป็นหนี้เงินกู้สกุลเงินเหรียญ-
สหรัฐที่เกิดขึ้นจริง (Realized) และยังไม่เกิดขึ้นจริง (Unrealized) สิ้นสุด ณ วันที่ 30
กันยายน 2540 ซึ่งได้ผ่านการสอบทานโดยผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ มาพร้อมนี้ด้วยแล้ว
จากรายงานดังกล่าว ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนฯ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,224
ล้านบาท ประกอบด้วย ส่วนที่เกิดขึ้นจริง (Realized) 180 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.7
และที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (Unrealized) 1,044 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.3 อนึ่ง หลังจาก
การเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ด้านการ
ดำเนินธุรกิจหลักนั้น บริษัทฯ ไม่ได้รับผลกระทบที่มีนัยสำคัญ เนื่องจากบริษัทฯ ใช้วิธี Natural
Hedge โดยราคาขายผลิตภัณฑ์อิงกับราคาโลหะสังกะสีในตลาดโลกในสกุลเงินเหรียญสหรัฐ
และราคาดังกล่าวใช้เป็นฐานในการคำนวณราคาวัตถุดิบแร่นำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้
ยังมีการส่งออกสูงถึงกว่าร้อยละ 30 ทำให้มีรายรับเป็นเงินเหรียญสหรัฐ ช่วยลดผลกระทบทาง
ด้านเงินสดที่จ่ายจริงได้ ในการนี้ บริษัทฯ จึงใคร่ขอใช้สิทธิในการผ่อนผันไม่นับรวมผลขาดทุนฯ
ในส่วนที่เป็นหนี้เงินกู้ต่างประเทศที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงข้างต้นในการพิจารณาการเข้าเกณฑ์อาจถูก
เพิกถอนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ
.../2
- 2 -
จึงเรียนมาเพื่อโปรดอนุมัติการใช้สิทธิผ่อนผันฯ ดังกล่าวข้างต้นของบริษัทฯ ด้วย
จักขอบคุณยิ่ง
ขอแสดงความนับถือ
(นายอาสา สารสิน)
ประธานกรรมการบริหารและประธานผู้บริหาร
รายงานของผู้สอบบัญชี
เสนอคณะกรรมการ
บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)
ข้าพเจ้าได้สอบทานรายงานข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน
เงินตราต่างประเทศ สำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540
ของบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) สำหรับทั้งงบการเงินรวมและเฉพาะบริษัทแล้ว
รายงานข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนนี้จัดทำขึ้นโดยฝ่ายบริหาร
ของบริษัท การสอบทานกระทำโดยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายบัญชีเรื่องการแปลงค่า
เงินตราต่างประเทศและนโยบายการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน สอบทานการคำนวณ
ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและเปรียบเทียบข้อมูลในรายงานกับสัญญากู้ยืม
ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งควรนำมาปรับปรุงรายงานข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของบริษัทสำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือน
สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 สำหรับทั้งงบการเงินรวมและเฉพาะบริษัท
เติมศักดิ์ กฤษณามระ
กรุงเทพมหานคร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 1106
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 สำนักงานดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ
1. การแสดงผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
บริษัท ผาแดง อินดัสทรี จำกัด (มหาชน)
รายการผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
สำหรับงวด 3 เดือนและ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539
(หน่วย : ล้านบาท)
งวด 3 เดือน งวด 9 เดือน
งบรวม งบเฉพาะบริษัท งบรวม งบเฉพาะบริษัท
2540 2539 2540 2539 2540 2539 2540 2539
ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
- ที่เกิดขึ้นจริง (Realized) 180 - 171 - 180 - 171 -
- ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (Unrealized) 1,044 - 820 - 1,044 - 820 -
2. คำอธิบายเกี่ยวกับหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
2.1 นโยบายการบัญชีเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบเงินตราต่างประเทศ
บริษัทบันทึกรายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ
สินทรัพย์หนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดแปลงค่าเป็นเงินบาท
โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันนั้น กำไร (ขาดทุน) จากการแปลงค่าแสดงเป็นรายการ
ในงบกำไรขาดทุน ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์หรือหนี้สิน
ที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่ในบัญชี ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 อันเป็นวันที่
กระทรวงการคลังได้ประกาศใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว ทั้งในส่วน
ที่ชำระก่อนวันสิ้นงวดหรือส่วนที่คงเหลืออยู่ในบัญชี ณ วันสิ้นงวดแสดงเป็นขาดทุนจาก
การใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัวทั้งจำนวนซึ่งเป็นรายการพิเศษใน
งบกำไรขาดทุน
2.2 นโยบายการบริหารความเสี่ยง
บริษัทบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยจะพิจารณาถึงธุรกิจของบริษัท กล่าวคือ บริษัท
มีรายรับบางส่วนจากการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปขายยังต่างประเทศเป็นเงินสกุลเหรียญสหรัฐ
.../2
- 2 -
การขายในต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 23.32 และ 31.38 ของยอดขายรวม
สำหรับงวด 3 เดือน และงวด 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ราคาขายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทั้งการขายในประเทศและการส่งออก
จะเป็นไปตามราคาตลาดโลกซึ่งอ้างอิงเป็นเงินสกุลเหรียญสหรัฐ ดังนั้น การพิจารณา
นโยบายบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจึงคำนึงถึงปัจจัยข้างต้น
2.3 มูลค่าหนี้สินที่ถึงกำหนดในรอบระยะเวลาบัญชีต่าง ๆ
รอบระยะเวลาบัญชี เงินต้น (เหรียญสหรัฐ)
ไตรมาส 4 2540 18,997,652.61
2541 38,436,322.08
2542 35,854,365.09
2543 500,000.00
รวมทั้งสิ้น 93,788,339.78
หมายเหตุ
มูลค่าหนี้สินรวม 93,788,339.78 เหรียญสหรัฐได้รวมถึงการชำระคืนเงินกู้
ระยะสั้นจำนวน 18,997,652.61 เหรียญสหรัฐ ที่จะถึงกำหนดในไตรมาส 4 ของปี 2540
และ 22,584,734.78 เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะถึงกำหนดในปี 2541 ส่วนที่เหลือเป็นเงินกู้
ระยะยาวจำนวน 52,205,952.39 เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะมีการชำระปีละ 2 ครั้ง ใน
เดือนมีนาคมและกันยายนของทุกปี
ขอแสดงความนับถือ
(นายอาสา สารสิน)
ประธานกรรมการบริหาร