งบการเงินไตรมาสสามปี 2540 บมจ. ผาแดงอินดัสทรี และบริษัทย่อย

- 3 - 2.3 เงินลงทุนในบริษัทร่วม แสดงโดยวิธีส่วนได้เสีย เงินลงทุนในบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง แสดงในราคาทุน (ดูหมายเหตุข้อ 6.3) เงินลงทุนในบริษัทอื่น แสดงในราคาทุน 2.4 ส่วนของราคาที่เกินกว่าและต่ำกว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ถือเป็นค่าความนิยม (สุทธิ) ในการรวมกิจการ ซึ่งจะตัดจำหน่ายโดยใช้วิธีเส้นตรงภายใน 10 ปี 2.5 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แสดงในราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเสื่อมราคาคำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามอายุใช้งานของสินทรัพย์โดยประมาณดังนี้ ส่วนปรับปรุงที่ดิน 5-20 ปี อาคารโรงงานและอาคารสำนักงาน 20-25 ปี เครื่องจักร 10-20 ปี เครื่องมือหนัก 8 ปี อุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง สิ่งตรึงตรา และยานพาหนะ 5 ปี ประทานบัตรและอื่น ๆ 5-16 ปี สิ่งปลูกสร้างอื่น 8-25 ปี 2.6 รายได้และรายจ่ายระหว่างขั้นพัฒนาได้ตั้งพักไว้ในบัญชี และตัดจำหน่ายหลังจากเริ่มดำเนินงาน แล้วภายใน 5-16 ปี ยกเว้นบริษัทย่อยแห่งหนึ่งซึ่งถือเป็นรายได้และรายจ่ายในงวดที่เกิดรายการ 2.7 ค่าอาชญาบัตรพิเศษ และค่าใช้จ่ายในการสำรวจแหล่งแร่ของบริษัทย่อย 3 แห่ง ได้ตั้งพักไว้ใน บัญชีและจะเริ่มตัดจำหน่ายเมื่อบริษัทย่อยเริ่มมีรายได้จากการดำเนินงาน …/4 - 4 - 2.8 สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดแปลงค่าเป็นเงินบาท โดยใช้ อัตราแลกเปลี่ยนในวันนั้น ขาดทุนจากการแปลงค่าแสดงเป็นรายการในงบกำไรขาดทุน ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์หรือหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ที่มีอยู่ในบัญชี ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 อันเป็นวันที่กระทรวงการคลังได้ประกาศใช้ระบบ การแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว ทั้งในส่วนที่ชำระก่อนวันสิ้นงวดหรือส่วนที่คงเหลืออยู่ใน บัญชี ณ วันสิ้นงวด แสดงเป็นขาดทุนจากการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัวซึ่งเป็น รายการพิเศษในงบกำไรขาดทุน 2.9 กำไร (ขาดทุน) รวมต่อหุ้นประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 คำนวณโดยใช้จำนวนหุ้นสามัญที่ออก และเรียกชำระแล้ว ณ วันสิ้นงวด กำไร (ขาดทุน) รวมต่อหุ้นประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2539 คำนวณโดยใช้จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามเวลาของหุ้นที่ออกและเรียกชำระ แล้ว ณ วันสิ้นงวด 3. นโยบายการบริหารความเสี่ยงสำหรับสินทรัพย์และหนี้สินที่อยู่ในรูปเงินตราต่างประเทศ บริษัทมีนโยบายในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสำหรับสินทรัพย์และหนี้สินของ บริษัทและบริษัทย่อยที่เป็นเงินตราต่างประเทศดังนี้ บริษัทมีการขายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงทำให้บริษัทมี รายได้และลูกหนี้เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกันบริษัทมีเจ้าหนี้การค้า ภาระเงินกู้และ ดอกเบี้ยที่เป็นสกุลเงินเดียวกัน ซึ่งบริษัทสามารถบริหารความเสี่ยงสำหรับอัตราแลกเปลี่ยนโดยใช้วิธี การจับคู่ (Matching) รายได้ที่ได้มากับภาระเงินกู้ และดอกเบี้ยที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ดังนั้นทาง บริษัทจึงไม่มีความจำเป็นในการจัดทำ Forward Exchange Contract หรือ ซื้อ Option บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้บริษัทย่อยดังกล่าวยังไม่มีนโยบายการ บริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับหนี้สิน …/5 - 5 - 4. รายการสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศจำนวนที่เป็นนัยสำคัญ รายการสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทและบริษัทย่อยที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 มีดังนี้ เงื่อนไขการรับ (จ่าย) ชำระ จำนวนเงิน วัน พันดอลลาร์สหรัฐ พันบาท เงินฝากธนาคาร - 1,292 46,880 ลูกหนี้การค้าต่างประเทศ 30 3,818 138,107 เจ้าหนี้การค้า 30-60 (1,357) (41,624) เงินกู้ยืมจากธนาคาร 120-360 (41,617) (1,699,259) ดอกเบี้ยค้างจ่าย 180 (1,384) (47,213) เงินกู้ยืมระยะยาว (หมายเหตุข้อ 8) 180 (55,065) (2,016,317) ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 บริษัทไม่มีการทำสัญญาประกันความเสี่ยงสำหรับสินทรัพย์และหนี้สิน ที่เป็นเงินตราต่างประเทศดังกล่าว 5. เงินลงทุนระยะสั้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 เงินฝาสถาบันการเงินของบริษัทและบริษัทย่อยรวมจำนวน 97 ล้านบาท นำไปค้ำประกันวงเงิน L/C กับธนาคารแห่งหนึ่ง ในการนำเข้าแร่จากต่างประเทศมูลค่า 200 ล้านบาท ของบริษัท …/6 - 6 - 6. เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืม เงินลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกันและบริษัทอื่น ประกอบด้วย 6.1 บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน หน่วย : พันบาท ถือหุ้น ร้อยละ 30 กันยายน 2540 30 กันยายน 2539 บริษัท ผาแดง อินดัสทรี (ประเทศลาว )จำกัด 100 5,000 5,000 บริษัท ผาแดงสยามอุตสาหกรรม จำกัด 50 1,441 1,400 (ชำระร้อยละ 50 ของมูลค่าหุ้น) บริษัท ไอ พี ดี แลนด์ จำกัด 50 10,888 13,623 รวม บาท 17,329 20,023 6.2 บริษัทอื่น ถือหุ้น ร้อยละ 30 กันยายน 2540 30 กันยายน 2539 บริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) 3.49 125,737 125,737 บริษัท ร่วมทุนโปแตชอาเชียน จำกัด 14.09 10,010 10,010 บริษัท ศรีราชา พลังงานไฟฟ้า จำกัด 10.00 10 10 WESTERN METALS LTD. 7.88 - 203,280 ASIA INVESTMENTS (1995) CO.,LTD. 20.00 1,018 - MILLENNIUM GOLD CORPORATION 10.11 4,442 - รวม บาท …/7 - 7 - 6.3 เงินลงทุนในบริษัท ผาแดงอินดัสทรี (ประเทศลาว) จำกัด ดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 6.1 แสดงในราคาทุนเนื่องจากไม่มีข้อมูลของบริษัทดังกล่าวที่จะนำมารวมในงบการเงินรวมนี้ ได้ในขณะนี้ และเงินลงทุน ดังกล่าวไม่มีสาระสำคัญต่องบการเงินรวมนี้ 6.4 สำหรับไตรมาสและสำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 ส่วนได้เสีย ในกำไร (ขาดทุน) สุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทร่วมที่นำมารวมในงบการเงินระหว่างกาลรวม ตามวิธีส่วนได้เสีย คำนวณจากงบการเงินประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนที่ยังไม่ได้ สอบทาน เมื่อคิดเป็นร้อยละของขาดทุนสุทธิรวมแล้ว มีดังต่อไปนี้ 141,217 339,037 ถือหุ้นร้อยละ ประจำไตรมาสสิ้นสุด ประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุด เพียงวันที่ 30 กันยายน น บริษัทร่วม : บริษัท ผาแดง สยามอุตสาหกรรม จำกัด 50 50 - 0.01 - 0.01 บริษัท ไอ พี ดี แลนด์ จำกัด 50 50 (0.09) (3.69) (0.34) (1.78) (0.09) (3.68) (0.34) (1.77) บริษัท ไอ พี ดี แลนด์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนของบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง บริษัทย่อยดังกล่าวถือหุ้น ในบริษัทร่วมลงทุนแห่งนั้นในอัตราร้อยละ 50 7. สินทรัพย์อื่น ส่วนหนึ่งของสินทรัพย์อื่น ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 จำนวนประมาณ 28 ล้านบาท เป็นเงินฝาก สถาบันการเงินแห่งหนึ่งของบริษัทย่อย สถาบันการเงินดังกล่าวถูกระงับการดำเนินกิจการชั่วคราว ตาม คำสั่งของกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 .../8 - 8 - 8. เงินกู้ยืมระยะยาว 8.1 เงินกู้ยืมระยะยาวของบริษัท ประกอบด้วย หน่วย : พันบาท 30 กันยายน 2540 30 กันยายน 2539 เงินกู้ร่วมจากธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศ 1,856,700 1,623,738 เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่างประเทศ 54,926 50,940 1,911,626 1,674,678 หัก ส่วนของหนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 580,438 344,992 1,331,188 1,329,686 8.1.1 เงินกู้ร่วมจากธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศ บริษัทได้ทำสัญญากู้ร่วมจากธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศโดยมีวงเงิน 2,000 ล้านบาท มีกำหนดชำระคืนทุก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2539 ถึง วันที่ 5 กันยายน 2543 และมีอัตราดอกเบี้ย MLR+ร้อยละ 0.125 ต่อปี ซึ่งสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวได้ระบุ เงื่อนไขที่สำคัญดังนี้ - เข้าทำการค้ำประกันหรือกระทำการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการค้ำประกันต่อบุคคลอื่น หรือก่อหนี้สินอื่นใด โดยมีภาระค้ำประกันหรือความรับผิดชอบในการกระทำดังกล่าว เป็นจำนวนรวมกันเกินกว่าจำนวนส่วนของผู้ถือหุ้นหักด้วยหนี้สินระยะยาว - ดำรงอัตราส่วนหนี้สินทั้งหมดต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของผู้กู้ไว้ไม่เกิน 2:1 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 บริษัททำข้อตกลงเพื่อทำความตกลงสำหรับการกู้ยืมเงิน เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกากับสถาบันการเงินแห่งหนึ่งซึ่งเป็นหนึ่งในเจ้าหนี้เงินกู้ร่วม ตามสัญญาเงินกู้ร่วมข้างต้น โดยข้อตกลงดังกล่าวให้สิทธิผู้ให้กู้เปลี่ยนสกุลเงินที่ตกลงให้กู้ ยืมเฉพาะในส่วนของผู้ให้กู้ตามสัญญาเงินกู้ร่วมฉบับดังกล่าวข้างต้นบางส่วนหรือทั้งหมด จากเงินบาทเป็นให้กู้ยืมเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา และถือเป็นส่วนหนึ่งของเงินกู้ที่ ผู้ให้กู้ให้กู้ยืมภายในวงเงินซึ่งผู้ให้กู้ตกลงให้กู้ยืมตามสัญญากู้ร่วมดังกล่าวข้างต้น โดยอัตรา ดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ส่วนที่เป็นเงินตราต่างประเทศดังกล่าวเท่ากับ LIBOR+ ร้อยละ 2.25 ต่อปี …/9 - 9 - ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 บริษัทมีเงินกู้ยืมตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 109.85 ล้านบาท และ 127 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2537 บริษัทได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและอัตรา ดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินในต่างประเทศ โดยเปลี่ยนเงินกู้จำนวน 1,758.86 ล้านบาท เป็น 69,796,031.75 ดอลลาร์สหรัฐ และเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย MLR+ร้อยละ 0.125 ต่อปี เป็นอัตรา ดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 10.625 ต่อปี สัญญานี้ครบกำหนดเมื่อสัญญาเงินกู้ดังกล่าวในวรรคที่ หนึ่งครบกำหนด 8.1.2 เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่างประเทศ บริษัทได้ทำสัญญาการกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศ มีวงเงิน 2,500,000 ดอลลาร์ สหรัฐ อัตราดอกเบี้ย LIBOR+ร้อยละ 2 ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน ตั้งแต่ พ.ศ. 2539-2543 ซึ่งสัญญาเงินกู้ยืมได้ระบุเงื่อนไขบางประการรวมทั้งการดำรงอัตราส่วนหนี้สินทั้งหมดต่อ ส่วนของผู้ถือหุ้นของผู้กู้ไว้ไม่เกิน 2:1 8.2 เงินกู้ยืมระยะยาวของบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง เงินกู้ยืมระยะยาวส่วนหนึ่งเป็นเงินกู้ยืมจากธนาคารต่างประเทศในวงเงิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีกำหนดชำระคืน 6 งวด ๆ ละ เท่า ๆ กัน ทุก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2537 และมีอัตรา ดอกเบี้ย SIBOR+ร้อยละ 0.75 ต่อปี เงินกู้นี้ค้ำประกันโดยบริษัทในประเทศ และบริษัทต่าง ประเทศซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท บริษัทย่อยได้จ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมดังกล่าวครบแล้วในเดือน สิงหาคม 2539 บริษัทได้ทำสัญญาเงินกู้อื่นกับสถาบันการเงินในประเทศและธนาคาร โดยมีวงเงิน 320 ล้านบาท และ 150 ล้านบาท ตามลำดับ …/10 - 10 - - วงเงิน 320 ล้านบาท มีกำหนดชำระคืน 16 งวด ๆ ละเท่า ๆ กันทุก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2536 และมีอัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี ซึ่งสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวได้ระบุเงื่อนไขที่ สำคัญซึ่งรวมถึงผู้กู้จะไม่ทำการจำนองจำนำทรัพย์สินของผู้กู้แก่เจ้าหนี้รายอื่น และการดำรง อัตราส่วนหนี้สินทั้งหมดต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของผู้กู้ไว้ไม่เกิน 4 : 1 ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ปฏิบัติตาม เงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา ผู้ให้กู้อาจจะคิดดอกเบี้ยเพิ่มหรือผู้ให้กู้อาจจะแจ้งให้ผู้กู้ดำเนินการ แก้ไขกรณีผิดสัญญาหากผู้กู้ยังมิได้แก้ไข ผู้ให้กู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วเรียกเงินกู้ที่ค้างชำระ คืนทั้งหมดได้ เงินกู้นี้ค้ำประกันโดยบริษัทในประเทศและบริษัทต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น ของบริษัท เมื่อปลายปี 2538 บริษัทย่อยได้ติดต่อเจ้าหนี้เงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศ ขอผ่อนผันการจ่ายชำระส่วนของหนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระในหนึ่งปี (ปี 2539) จำนวน 40 ล้านบาท และได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่ดังกล่าวลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 ให้ได้รับ การผ่อนผันจ่ายชำระส่วนของหนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระในหนึ่งปี (ปี 2539) ดังกล่าว ข้างต้นแล้ว ซึ่งทำให้งวดสุดท้ายของการจ่ายชำระเงินกู้ดังกล่าวเปลี่ยนจากเดิมเป็นปี 2540 ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 บริษัทย่อยนี้มีเงินกู้ยืมตามวงเงินดังกล่าวคงเหลือเป็น จำนวนเงิน 180 ล้านบาท และ 220 ล้านบาท ตามลำดับ - วงเงิน 150 ล้านบาท มีกำหนดชำระคืน 8 งวด ๆ ละเท่า ๆ กันทุก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2540 และมีอัตราดอกเบี้ย MLR+ ร้อยละ 0.25 ต่อปี ซึ่งสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาว ฉบับนี้ได้ระบุเงื่อนไขที่สำคัญซึ่งรวมถึงผู้กู้จะไม่ทำการจำนองจำนำทรัพย์สินของผู้กู้แก่เจ้าหนี้ รายอื่น และการดำรงการอัตราส่วนหนี้สินทั้งหมดต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของผู้กู้ไว้ไม่เกิน 2:1 ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา ผู้ให้กู้อาจจะคิดดอกเบี้ยเพิ่มหรือผู้ให้กู้ อาจจะแจ้งให้ผู้กู้ดำเนินการแก้ไขกรณีผิดสัญญา หากผู้กู้ยังมิได้แก้ไข ผู้ให้กู้มีสิทธิบอกเลิก สัญญาแล้วเรียกเงินกู้ที่ค้างชำระคืนทั้งหมดได้ เงินกู้นี้ค้ำประกันโดยบริษัทในประเทศซึ่งเป็นผู้ ถือหุ้นของบริษัท …/11 - 11 - ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 บริษัทย่อยนี้มีวงเงินกู้ยืมตามวงเงินดังกล่าวคงเหลือเป็น จำนวนเงิน 131.25 ล้านบาท และ 150 ล้านบาท ตามลำดับ ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 บริษัทย่อยมีอัตราส่วนหนี้สินทั้งหมดต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเกินอัตรา ส่วนที่ได้ระบุไว้ในสัญญาสองสัญญาดังกล่าวข้างต้นมาก จึงได้แสดงเงินกู้ระยะยาวดังกล่าวนี้ เป็นส่วนของหนี้ระยะยาวที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปีภายใต้หัวข้อหนี้สินหมุนเวียนใน งบดุล และฝ่ายบริหารของบริษัทย่อยกำลังดำเนินการเพื่อให้อัตราส่วนเป็นไปตามเงื่อนไข 9. ทุนเรือนหุ้น เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2539 ผู้ถือหุ้นมีมติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1,040 ล้านบาท เป็น 2,260 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญจำนวน 122 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10.00 บาท ซึ่งบริษัทได้นำมติ ดังกล่าวไปจดทะเบียนกับกรมทะเบียนการค้าแล้ว เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2539 ตามมติดังกล่าวกำหนด ให้ดำเนินการจัดสรร และเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน ดังนี้ 1. เสนอขายหุ้นสามัญจำนวน 52 ล้านหุ้น แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามอัตราส่วน 2 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ใน ราคาหุ้นละ 10 บาท โดยกำหนดวันจองซื้อและชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนระหว่างวันที่ 15-19 กรกฎาคม 2539 2. เสนอขายหุ้นสามัญจำนวน 70 ล้านหุ้น ให้แก่ผู้ลงทุนตามที่กำหนดในมติดังกล่าวโดย กรรมการผู้จัดการมีอำนาจที่จะกำหนดราคาและเงื่อนไขในการเสนอขายตามความเหมาะสมต่อไป ในปี 2539 บริษัทได้รับชำระค่าหุ้นที่ขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมบางส่วนเป็นเงินจำนวน 403,695,580 บาท จากจำนวนหุ้นสามัญ 40,369,558 หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท และบริษัทได้ดำเนินการ จดทะเบียนเป็นทุนชำระแล้ว รวมเป็น 1,443,695,580 บาท เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2539 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2539 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมีมติให้นำหุ้นส่วนที่เหลือจำนวน 11,630,442 หุ้น ที่เหลือจากการขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมไปรวมกับส่วนที่จะเสนอขายแก่ผู้ลงทุนโดย เฉพาะเจาะจง จำนวน 70 ล้านหุ้นต่อไป .../12 (ยังมีต่อ)