งบการเงินไตรมาสสามปี 2540 ของบมจ. ผาแดงอินดัสทรี`

รายงานของผู้สอบบัญชี เสนอคณะกรรมการ บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุล ลงวันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 และงบกำไรขาดทุน และกำไรสะสมประจำแต่ละไตรมาสและประจำแต่ละงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันเดียวกันตามลำดับ ของบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชี รับอนุญาตแห่งประเทศไทย การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลนี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ ในการจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน และ การสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มี ขอบเขตจำกัดกว่าการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป เพื่อแสดงความเห็นต่อ งบการเงินมาก ดังนั้นข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินที่สอบทานได้ ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งควรนำมาปรับปรุงงบการเงินระหว่างกาลที่กล่าวในวรรค แรกให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป จากการสอบทานของข้าพเจ้าดังกล่าวข้างต้น เติมศักดิ์ กฤษณามระ กรุงเทพมหานคร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 1106 วันที่ 31 ตุลาคม 2540 สำนักงานดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) งบดุล ลงวันที่ 30 กันยายน "ยังไม่ได้ตรวจสอบ" หน่วย : พันบาท 2540 2539 สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและเงินฝากธนาคาร 67,500 7,917 เงินลงทุนระยะสั้น เงินฝากสถาบันการเงิน (หมายเหตุข้อ 5) 50,000 130,000 ลูกหนี้การค้า 433,917 196,261 สินค้าคงเหลือ (หมายเหตุข้อ 2.1) 801,441 713,586 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ค่าใช้จ่ายรอรับคืน 9,099 11,205 อื่นๆ 31,567 29,145 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 1,393,524 1,088,114 เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืม เงินลงทุน (หมายเหตุข้อ 2.2 และข้อ 6) บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุข้อ 6.1 และข้อ 16) 665,011 605,630 บริษัทอื่น (หมายเหตุข้อ 6.2) 141,217 339,037 เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย (หมายเหตุข้อ 7 และข้อ 16) 586,879 584,259 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ (หมายเหตุข้อ 2.4) 3,836,873 3,950,197 สินทรัพย์อื่น ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน 48,297 62,777 ค่าใช้จ่ายอื่นรอตัดบัญชี 71,446 78,827 อื่นๆ 8,106 11,600 รวมสินทรัพย์ 6,751,353 6,720,441 ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล "สอบทานแล้ว" บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) งบดุล ลงวันที่ 30 กันยายน "ยังไม่ได้ตรวจสอบ" หน่วย : พันบาท 2540 2539 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 1,652,743 992,897 เจ้าหนี้การค้า 96,997 39,192 ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (หมายเหตุข้อ 8) 580,438 344,992 เจ้าหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุข้อ 16) 32,600 6,974 หนี้สินหมุนเวียนอื่น ค่าไฟฟ้าค้างจ่าย 100,591 73,040 อื่นๆ 106,231 74,623 รวมหนี้สินหมุนเวียน 2,569,600 1,531,718 เงินกู้ยืมจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุข้อ 16) 140,000 138,000 หนี้สินระยะยาว (หมายเหตุข้อ 8) 1,331,188 1,329,686 รวมหนี้สิน 4,040,788 2,999,404 บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) งบดุล ลงวันที่ 30 กันยายน "ยังไม่ได้ตรวจสอบ" หน่วย : พันบาท 2540 2539 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ) ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น (หมายเหตุข้อ 9) ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ 226,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10.00 บาท 2,260,000 2,260,000 ทุนที่ออกและชำระแล้ว หุ้นสามัญ 144,369,558 หุ้น มูลค่าหุ้นละ10.00 บาท ชำระเต็มมูลค่าแล้ว 1,443,696 1,443,696 ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 840,000 840,000 กำไร (ขาดทุน) สะสม จัดสรรแล้ว สำรองตามกฎหมาย (หมายเหตุข้อ 12) 98,200 98,200 สำรองสำหรับการขยายงานธุรกิจ 1,969,000 1,969,000 ยังไม่ได้จัดสรร (1,640,331) (629,859) รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 2,710,565 3,721,037 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 6,751,353 6,720,441 ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล "สอบทานแล้ว" บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) งบกำไรขาดทุนและกำไรสะสม "ยังไม่ได้ตรวจสอบ" หน่วย : พันบาท ประจำไตรมาสสิ้นสุด ประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุด เพียงวันที่ 30 กันยายน เพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 2539 2540 2539 รายได้ รายได้จากการขาย 1,307,719 701,491 2,701,612 1,933,498 รายได้อื่น รายได้จากการผิดสัญญา - - 63,454 - กำไรจากการขายเงินลงทุน- บริษัทต่างประเทศแห่งหนึ่ง - - 128,107 - ดอกเบี้ยรับ 27,332 17,051 61,818 42,088 อื่นๆ 3,702 4,756 9,110 12,145 รวมรายได้ 1,338,753 723,298 2,964,101 1,987,731 ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขาย 960,992 663,394 2,157,728 1,867,963 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 75,370 51,447 202,777 187,450 ดอกเบี้ยจ่าย 107,025 71,449 251,091 214,844 ค่าตอบแทนกรรมการ 420 295 1,056 1,408 ส่วนได้เสียในขาดทุนสุทธิที่ยังไม่ได้ แบ่งของบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 287,388 32,058 311,640 90,095 รวมค่าใช้จ่าย 1,431,195 818,643 2,924,292 2,361,760 บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) งบกำไรขาดทุนและกำไรสะสม (ต่อ) "ยังไม่ได้ตรวจสอบ" หน่วย : พันบาท ประจำไตรมาสสิ้นสุดประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 2539 2540 2539 กำไร (ขาดทุน) ก่อนรายการพิเศษ (92,442) (95,345) 39,809 (374,029) รายการพิเศษ ขาดทุนจากการใช้ระบบ การแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว (หมายเหตุข้อ 10) (990,838) - (990,838) - กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (1,083,280) (95,345) (951,029) (374,029) กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (1,083,280) (95,345) (951,029) (374,029) กำไร (ขาดทุน) สะสมยังไม่ได้จัดสรรยกมา (557,051) (534,514) (689,302) (255,830) กำไร (ขาดทุน) สะสมยังไม่ได้จัดสรรยกไป (1,640,331) (629,859) (1,640,331) (629,859) กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น (หมายเหตุข้อ 2.7) กำไร (ขาดทุน) ก่อนรายการพิเศษ บาท (0.64) (0.79) 0.27 (3.41) รายการพิเศษ บาท (6.86) - (6.86) - กำไร (ขาดทุน) สุทธิ บาท (7.50) (0.79) (6.59) (3.41) ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล "สอบทานแล้ว" บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล ประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 1. เกณฑ์การเสนองบการเงินระหว่างกาล งบการเงินระหว่างกาลประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 แสดงรายการตามแบบงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของบริษัทมหาชนจำกัดที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2539 ออกตามความในพระราชบัญญัติบริษัท มหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งเริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นไป งบการเงินระหว่างกาลประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2539 บางรายการได้มีการจัดประเภทใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการแสดงในงบการเงินระหว่างกาลประจำ ไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 2. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ 2.1 สินค้าคงเหลือแสดงในราคาทุนหรือราคาตลาดที่คาดว่าจะขายได้ แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า ราคาทุนคำนวณโดยวิธีถัวเฉลี่ย 2.2 เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมแสดงตามวิธีส่วนได้เสีย เงินลงทุนในบริษัทย่อยแห่งหนึ่งแสดงในราคาทุน (หมายเหตุข้อ 6.4) เงินลงทุนในบริษัทอื่น แสดงในราคาทุน 2.3 ส่วนของทุนที่เกินกว่าและต่ำกว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อยถือ เป็นค่าความนิยม (สุทธิ) ซึ่งจะตัดจำหน่ายโดยใช้วิธีเส้นตรงภายใน 10 ปี .../2 - 2 - 2.4 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แสดงในราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเสื่อมราคาคำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามอายุใช้งานโดยประมาณดังนี้ (3.41)ส่วนปรับปรุงที่ดิน 5-20 ปี อาคารโรงงานและอาคารสำนักงาน 20-25 ปี เครื่องจักร 10-20 ปี เครื่องมือหนัก 8 ปี อุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง สิ่งตรึงตรา และยานพาหนะ 5 ปี ประทานบัตรและอื่นๆ 5-16 ปี สิ่งปลูกสร้างอื่น 8-25 ปี 2.5 รายได้และรายจ่ายที่คาดว่าจะเกิดประโยชน์ต่อการหารายได้ในอนาคต ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการ ก่อสร้างโรงงานได้บันทึกรวมไว้ในรายได้และรายจ่ายสะสมระหว่างขั้นพัฒนาและตัดจำหน่าย หลังจากเริ่มดำเนินงานแล้วตามอายุใช้งานของเหมืองภายใน 16 ปี 2.6 สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดแปลงค่าเป็นเงินบาท โดยใช้ อัตราแลกเปลี่ยนในวันนั้น กำไร (ขาดทุน) จากการแปลงค่าแสดงเป็นรายการในงบกำไรขาดทุน ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์หรือหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่ มีอยู่ในบัญชี ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 อันเป็นวันที่กระทรวงการคลังได้ประกาศใช้ระบบการ แลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว ทั้งในส่วนที่ชำระก่อนวันสิ้นงวดหรือส่วนที่คงเหลืออยู่ในบัญชี ณ วันสิ้นงวดแสดงเป็นขาดทุนจากการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว ซึ่งเป็นรายการ พิเศษในงบกำไรขาดทุน 2.7 กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 คำนวณโดยใช้จำนวนหุ้นสามัญที่ออก และเรียกชำระแล้ว ณ วันสิ้นงวด กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2539 คำนวณโดยใช้จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามเวลาของหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้ว ณ วันสิ้นงวด …/3 - 3 - 3. นโยบายการบริหารความเสี่ยงสำหรับสินทรัพย์และหนี้สินที่อยู่ในรูปเงินตราต่างประเทศ บริษัทมีนโยบายในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสำหรับสินทรัพย์และหนี้สินที่ เป็นเงินตราต่างประเทศดังนี้ บริษัทมีการขายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงทำให้บริษัทมี รายได้และลูกหนี้เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกันบริษัทมีเจ้าหนี้การค้า ภาระเงินกู้และ ดอกเบี้ยที่เป็นสกุลเงินเดียวกัน ซึ่งบริษัทสามารถบริหารความเสี่ยงสำหรับอัตราแลกเปลี่ยนโดยใช้วิธี การ Matching รายได้ที่ได้มากับภาระเงินกู้ และดอกเบี้ยที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ดังนั้นทางบริษัทจึง ไม่มีความจำเป็นในการจัดทำ Forward Exchange Contract หรือ ซื้อ Option 4. รายการสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศจำนวนที่เป็นนัยสำคัญ รายการสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 มีดังนี้ เงื่อนไขการรับ (จ่าย) ชำระ จำนวนเงิน วัน พันดอลลาร์สหรัฐ พันบาท เงินฝากธนาคาร - 1,292 46,880 ลูกหนี้การค้าต่างประเทศ 30 3,623 130,964 เงินให้กู้แก่บริษัทย่อย 180 14,614 594,732 เจ้าหนี้การค้า 30-60 (1,357) (41,624) เงินกู้ยืมจากธนาคาร 120-360 (4,582) (1,522,622) ดอกเบี้ยค้างจ่าย 180 (1,050) (34,963) เงินกู้ยืมระยะยาว (ดูหมายเหตุข้อ 8) 180 (52,206) (1,911,625) ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 บริษัทไม่มีการทำสัญญาประกันความเสี่ยงสำหรับสินทรัพย์และหนี้สิน ที่เป็นเงินตราต่างประเทศดังกล่าว …/4 (ยังมีต่อ)